การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

Main Article Content

อรพรรณ วรรณสิงห์
โกวัฒน์ เทศบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนโสตศึกษา และ 2) ออกแบบโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนโสตศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนโสตศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโรงเรียนโสตศึกษา จำนวน 290 คน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามขนาดโรงเรียน และระยะที่ 2 การออกแบบโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนโสตศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนที่มีความโดดเด่นด้านสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินโปรแกรม จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของส่วนสภาพปัจจุบัน เท่ากับ 0.91 และส่วนของสภาพที่พึงประสงค์ เท่ากับ 0.91 แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง


            ผลการวิจัยพบว่า


1. สภาพปัจจุบันสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนโสตศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนโสตศึกษา เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ มาตรฐานการปฏิบัติงาน การปรับปรุงการทำงาน และการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน ตามลำดับ


2. โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนโสตศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ ประกอบด้วย Module 1 การมีวิสัยทัศน์ Module 2 มาตรฐานการปฏิบัติงาน Module 3 การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน Module 4 การปรับปรุงการทำงาน 4) รูปแบบและโครงสร้าง 5) วิธีการพัฒนา ได้แก่ การฝึกอบรม การศึกษาโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน การศึกษางานและการปฏิบัติงานจริง 6) ระยะเวลาในการพัฒนา และ 7) การประเมินผล ผลการประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ฉัตรชัย นาถ้ำพลอย. (2562). การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสังคมปัจจุบัน. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 3(3), 172.

ชัยรัตน์ ราชประโคน. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับประสิทธิผลการบริหารงานสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ณัฐวุฒิ เสาว์ยงค์ (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นภาวรรณ รุ่งจำรัส. (2562). สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2565). คู่มือการประเมินสมรรถนะในการปฏิบัติงาน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ระวิวรรณ กองกะมุด. (2557). วิธีการพัฒนาสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัชนีกร กุฎีศรี. (2561). ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

เรืองแสง ห้าสกุล. (2559). แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). กฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. ประชุมช่าง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2560). คู่มือการจัดทำมาตรฐานและการปรับปรุงการบริการ. สุขุมวิทมีเดียมาร์เก็ตติ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2560). ปัญหาการบริหารการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งการปฏิรูปการศึกษา, https://www.knowledgefarm.in.th /educational-administration-problem.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2565). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). การพัฒนากระบวนทัศน์รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูในลักษณะเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5. สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุรีพร โพธิ์ภักดี. (2558). สมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8(1), 47.

หนูกัณฑ์ ปาโส. (2562). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้โรงเรียนเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

อัญชลี ชัยศรี. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานสมรรถนะ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(2), 235.

Barrattand, K. H. (2013). Leadership by the Book. Executive Excellence, 17(3), 4-5.

Krejcie, R.V.& Morgan, D.W.(1970).Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.