การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ธนาภรณ์ หอมเย็น
สมถวิล ขันเขตต์
ปริญา ปริพุฒ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล 2) เพื่อศึกษาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาห้วยแคน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
1) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบอัตนัย จำนวน 12 ข้อ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน 20 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบประเมินมาตราส่วน 5 ระดับ จำนวน 14 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมุติฐาน (t-test Dependent Samples)


ผลการวิจัยพบว่า


1. ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการคูณ จำนวน 12 แผน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) เตรียมนักเรียนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ 2) ตั้งข้อสังเกตการเรียนรู้ 3) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) สรุปองค์ความรู้ 5) ประยุกต์ใช้ความรู้ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.86 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.24


2. ผลการศึกษาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล เรื่องโจทย์ปัญหาการคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า จำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์น้อยที่สุด จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 19.05 ได้แก่การวัดทักษะครั้งที่ 1 และ 4 ส่วนนักเรียนผ่านเกณฑ์มากที่สุด จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 คือการวัดทักษะครั้งที่ 9  และทุกหน่วยการเรียนรู้มีแนวโน้มจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น


3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล  โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.86 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.44

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 11-28.

โชติกา สิงห์ป้อง. (2562). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ต้องใจ โสภา. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บ้านนาห้วยแคน, โรงเรียน. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR) ปีการศึกษา 2565. โรงเรียนบ้านนาห้วยแคน.

ปิยาพัชร เที่ยงตรง. (2565). การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางอคิตะ เรื่อง การคูณและการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

แพรวนภา อินทร์นุช. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ประกอบเทคนิคการจัดข้อมูลด้วยภาพ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ศศิธร บุญไพโรจน์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการเขียนสะกดคำโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ HALO Model สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุทรรศน์, 1(1), 43-51.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.

เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ, ชนารักษ์ เวชสวัสดิ์ และปิยาพัชญ์ นิธิศอัครานนท์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้ภายใต้รูปแบบ HALO Model สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีในสถานการณ์ COVID-19. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 10(1), 21-30.

อุกฤษฏ์ ทองอยู่. (2562). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์} มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.