แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 105 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 105 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 โดยใช้รูปแบบการศึกษาเฉพาะกรณี ผู้วิจัยจึงเลือกโรงเรียนที่มีความโดดเด่นในการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม และโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบวิเคราะห์เอกสาร ผู้วิจัยได้นําเครื่องมือการวิจัยเสนอ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา สร้างความน่าเชื่อถือข้อมูลโดยใช้หลักการตรวจสอบสามเส้า และหลักสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
ผลการวิจัย พบว่า โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 105 มีแนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ได้แก่ 1) การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมุ่งพัฒนาสมรรถนะสู่การเป็นนวัตกร 2) การจัดการความรู้ของโรงเรียนโดยการจัดระบบการบริหารจัดการความรู้เชิงนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ 3) บรรยากาศองค์กรของโรงเรียนที่มุ่งพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เชิงนวัตกรรม
Downloads
Article Details
References
กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขวัญชนก แสงท่านั่ง. (2563). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10 (2), 1342-1354.
นันทวัน แก้วปาน. (2563). แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์การนวัตกรรมของสำนักงานขนส่ง จังหวัดในเขตภาคกลางตอนล่าง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ปานชนก ด้วงอุดม. (2562). การศึกษาสภาพการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ประทุมทิพย์ ทองเจริญ. (2565). องค์การสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี.
ปรีดา ยังสุขสถาพร. (2558). กระบวนการคิดเชิงนวัตกรรม. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 20(115), 64.
พระทองดี บุตรดี. (2564). แนวทางการพัฒนาองค์กรนวัตกรรมยุค 4.0 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. มนตรี.
ภารดี อนันต์นาวี และสิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง. (2563) การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศเพื่อความยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 9(2), 76-88.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุรเดช จองวรรณศิริ. (2562). การจัดการสู่องค์กรนวัตกรรม Innovative Organization Book of Knowledge. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.
สุริศา ริมคีรี. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมภพ นาคทองคำ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อองค์กรนวัตกรรมของอุตสาหกรรมสิ่งทอในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
อารีรัตน์ จุ้มใหญ่. (2563). รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ทางสังคมในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2561). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อภิโชติ ชมพล. (2563). องค์กรนวัตกรรมกับธรรมาภิบาลของศุลกากรไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนอร์ท.
Benaim, A. (2014). Conference: 15th International CINet Conference. Budapest, Turkey.
Bayó, E. (2019). How to become an innovative company. [n.p.]: Government of Catalonia Ministry for Business and Laboure Agency for business competitiveness, ACCIÓ.
Boonkua, A. (2019). Innovative Organization’s Components in Basic Education Institutions in Thailand. International Journal of Instruction, 13(3), 1308-1470.
Botelho, C. (2019). The influence of organizational culture and HRM on building innovative capability. Instituto Superior de Ciencias Social Politicas, Universidade de Lisboa.
Tanaporn, C. (2023). growth-mindset/soft-skills-for-the-future-of-work. https://thegrowthmaster.com/growth-mindset/soft-skills-for-the-future-of-work
Junwei, Z. (2018). Leadership, organizational culture, and innovative behavior in construction projects the perspective of behavior-value congruence. Faculty of Civil Engineering and Mechanics, Kunming University of Science and Technology.
Marilú, C. and Tomas A. G. (2018). Dimensions that influence the innovation process in justice organizations. PPGA, Universidade de Brasília,
Ossiannilsson, E. (2019). Innovative Learning and Innovative Learning Spaces. Swedish Association for Distance Education.