บทบาทที่เป็นจริง บทบาทที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบทบาท ของพระสงฆ์ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนเอกชนกลุ่มการกุศล ของวัดในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

ธิติยา ทองอยู่
วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง
พร้อมพิไล บัวสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับของบทบาทที่เป็นจริง บทบาทที่คาดหวังของพระสงฆ์ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า ระดับการปฏิบัติของพระสงฆ์ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีระดับการปฏิบัติมากที่สุดคือด้านการบริหารงานวิชาการ รองลงมาคือด้านการบริหารงานงบประมาณ ส่วนระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของพระสงฆ์ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา
ในภาพรวมมีความคาดหวังอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความคาดหวังมากที่สุดคือด้านการบริหารงานวิชาการ รองลงมาคือด้านการบริหารงานงบประมาณ นอกจากนี้บทบาทของพระสงฆ์ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือ บทบาทด้านการบริหารงานงบประมาณ (PNImodified=0.1266) ด้านการบริหารงานบุคคล (PNImodified=0.1253) ด้านการบริหารงานทั่วไป (PNImodified=0.1169) และด้านการบริหารงานวิชาการ (PNImodified=0.1168) ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ทองอยู่ ธ. ., สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง ว. ., & บัวสุวรรณ พ. (2025). บทบาทที่เป็นจริง บทบาทที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบทบาท ของพระสงฆ์ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนเอกชนกลุ่มการกุศล ของวัดในพระพุทธศาสนา. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 16(1), 268–280. สืบค้น จาก https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/576
บท
Research Article

References

ปิยาภรณ์ พูลชัย. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

พระครูศรีรัตนาภิรัต (ปิยนันท์ ปิยจิตฺโต), สมศักดิ์ บุญปู่ และ อำนาจ บัวศิริ. (2561). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนการกุศลของวัดพระพุทธศาสนาในภาคกลาง. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 5(3), 177-189. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/178234

พระปลัดศรายุทธ มหานรินฺโท (มหาประโค). (2561). การบริหารโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ตามหลักสังคหวัตถุ 4 สังกัดสำนักงานคณะงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธนศักดิ์ ชื่นสว่าง. (2564). การบริหารการจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, 6(1), 17-31. http://www.ojs.mcu.ac.th/index.php/BAS/article/view/6743

พระมหาบุญศรี ญาณวุฑฺโฒ. (2564). บทบาทของพระสงฆ์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจแก่คนไทยในยุคการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระราชสุตาภรณ์ (ประศักดิ์ ชั่งแสง) และ พระมหาอุดร อุตฺตโร (มากดี). (2566). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 10(1), 430-442. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/263006

พระเอกชัย พิเลิศรัมย์. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์]. http://backoffice.thaiedresearch.org/uploads/paper/1f7a657fe29dc6cc9a322307413e129b.pdf

วีระพงษ์ ปรองดอง, กนกอร สมปราชญ์ และประจิตร มหาหิง. (2565). รูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามหลักอิทธิบาท 4 ใน โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 9. วารสาร มจรอุบลปริทรรศน์, 7(2), 1955-1968. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/article/view/258448

ศิริลักษณ์ มีหกวงษ์ และ สงวน อินทร์รักษ์. (2561). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเมืองนครปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 97-109.https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/192832

อมลภา ปิ่นทอง. (2566). แนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 24(1), 310-318. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jsrc/article/view/251446

อินถา ศิริวรรณ. (2563). กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 1-15. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/241545

อภิรัตน์ ช่างเกวียณ. (2564). บทบาทผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อำนวย มีราคา และชาญวิทย์ หมุนอุดม. (2565). การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(10), 300-311. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/258452

อรุณลักษณ์ วรินทรพันธุ์. (2565). การบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เขต 7 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Ar Tha Bha, U. & Ye., Y. (2020). The relationship between teachers’ competence and their job satisfaction at Phaung Daw Oo Monastic Education High School, in Mandalay Division, Myanmar. Human Sciences, 12(1), 103-115. http://www.assumptionjournal.au.edu/index.php/Scholar/article/view/3829

Win, T. T. (2024). A study on the sustainability of monastic education in Yangon Region [Unpublished master’s thesis]. Yangon University.