การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่มีประสิทธิผล ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น
ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ จำนวน 249 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง Krejcie and Morgan และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง โดยใช้เทคนิคจัดลำดับความสำคัญโดยใช้วิธี Modified Priority Needs Index (PNI modified) โดยมีค่าความตรงเชิงเนื้อหามีค่าตั้งแต่ 0.80 – 1.00 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่า 0.940
ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษามีสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิผล การมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม การพัฒนาทีมงานและบุคลากร การเป็นผู้นำขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง และการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม ตามลำดับ
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563 – 2565. https://www.moe.go.th/strategic-plan/
ชัดสกร พิกุลทอง และสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2565). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(1), 178-192. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/download/252529/174358/996429
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2561). แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฐิตินันท์ นันทะศรี, วาโร เพ็งสวัสดิ์, วัลนิกา ฉลากบาง, และพรเทพ เสถียรนพเก้า (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและงานวิจัยสังคมศาสตร์, 14(3), 93–106. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/203176
ธัญญวรรณ บุญมณี, วีระยุทธ ชาตะกาญจน์, และชูศักดิ์ เอกเพชร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กับความเป็นนวัตกรการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13. Journal of MCU Ubon Review, 7(2), 365-378. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/article/view/255822
นภาพร ศรีสุคันธพฤกษ์ ,จอมพงศ์ มงคลวนิช, และปองสิน วิเศษศิริ. (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(3), 117-131. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/262254?fbclid=IwAR3M3VTx7p5CPFhoVKnVimG6FCgNVDHmh25_3INpIMuw9C_0os8pNIa2MbM
ไปรยา แลกะสินธุ์, ทรงยศ แก้วมงคล, และดวงกมล แก้วแดง. (2566). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรี เขต 2. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 79-92. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/266456
ปัญญา เลิศไกร, นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์, ลัญจกร นิลกาญจน์, และกฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์. (2562). การจัดการนวัตกรรมการพัฒนาองค์กร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 3745-3757. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/218069
ปริญญามิตร ลีนาลาด, ไชยา ภาวะบุตร, วัฒนา สุวรรณไตรย์, และสุรัตน์ ดวงชาทม. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(1), 11-20. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMKKU/article/view/103359
ปิยโชติ รอดหลง, และมัทนา วังถนอมศักดิ์. (2567). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 10(2), 187–203. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/266221
ปิยะพันธุ์ ขันไร่, พิมผกา ธรรมสิทธิ์, และเชาวฤทธิ์ จั่นจีน. (2564). องค์ประกอบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(8), 42–55. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/249205
วิชัย วงษ์ใหญ่, และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. ศูนย์ผู้นำพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ กรุงเทพมหานคร. http://www.curriculumandlearning.com/upload/Books/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1_1567745143.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. https://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1540-file.pd
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2563). การบริหารสู่องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
สุรเดช จองวรรณศิริ. (2563). การจัดการสู่องค์กรนวัตกรรม.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). https://nia.or.th/pdf/books/Innovative%20Organization%20Book%20Of%20Knowledge.pdf
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2563). โลกเปลี่ยนแปลง ผู้คนปรับตัว: หลุดพ้นจากกับดักและก้าวสู่ความยั่งยืน. https://drive.google.com/file/d/1AmaGwWGnLV6aS2AM7RCRX5bixKANLQN4/vie
อนุสรณ์ นามประดิษฐ์, ชูชีพ พุทธประเสริฐ, และสุทธิพงศ์ ยงค์กมล. (2566). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมแนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนา ผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์, มมร ล้านนาวิชาการ, 12(1), 112–121. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/259209