แรงจูงใจการทำงาน ความมีอิสระในงานและการตัดสินใจเปลี่ยนสายงานจากครูผู้สอนเป็นผู้บริหารสถานศึกษา

Main Article Content

เนรัญชลา ธิติพงษ์
วรรณ์วิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง
สุดารัตน์ สารสว่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงาน ความมีอิสระในงานและการตัดสินใจเปลี่ยนสายงานจากครูผู้สอนเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความมีอิสระในงาน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับการตัดสินใจเปลี่ยนสายงานจากครูผู้สอนเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความมีอิสระในงาน กับการตัดสินใจเปลี่ยนสายงานจากครูผู้สอนเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ประชากรการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
ปีการศึกษา 2567 จำนวน 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ทุกข้อคำถามเท่ากับ 1 และค่าความเชื่อมั่นอยู่ ที่ 0.984 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) (r)



ผลการวิจัยพบว่า ระดับของแรงจูงในการทำงานในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (µ = 3.81) ระดับความมีอิสระในงาน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (µ = 3.77) ระดับการตัดสินใจเปลี่ยนสายงานจากครูผู้สอนเป็นผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก (µ = 3.97) และความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน ความมีอิสระในงานและการตัดสินใจเปลี่ยนสายงานจากครูผู้สอนเป็นผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้ง 3 คู่ มีความสัมพันธ์ระหว่าง 0.090 – 0.745

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ธิติพงษ์ เ. ., สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง ว., & สารสว่าง ส. (2025). แรงจูงใจการทำงาน ความมีอิสระในงานและการตัดสินใจเปลี่ยนสายงานจากครูผู้สอนเป็นผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 16(1), 95–108. สืบค้น จาก https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/561
บท
Research Article

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2566, 18 มีนาคม). ส่อง ‘งบฯปี 67’ 10 กระทรวง-หน่วยงาน ได้รับงบประมาณมากที่สุด และเพิ่มสูงสุด. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1057992

กีรติ อรุณศรี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานผู้มีศักยภาพสูง Talent (Future Leader) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, หาวิทยาลัยมหิดล]. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4879

ใกล้ตะวัน ศรสีทอง. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดกรมการแพทย์ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8791

ธัญญา เกษปทุม. (2566). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทอีคอมเมิร์ซแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล].https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/5202/1/TP%20HOM.026%202566.pdf

นัทชนันท์ แทนวิสุทธิ์. (2564). อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทาง ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงาน และการใช้จุดแข็งต่อความเพลินในงาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5127

ปัญญาภา อัคนิบุตร. (2565). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทรัฐวิสาหกิจให้บริการ ด้านท่าอากาศยาน Generation Y [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4341

ปีราติ พันธ์จบสิงห์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงานในเทศบาลเมือง จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5436

พรเพชร บุตรดี. (2563). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/242615

วรลักษณ์ มากศรี. (2562). ความมีอิสระในงาน ความหลากหลายในงานและการรับรู้ การสนับสนุนจากหัวหน้างานที่พยากรณ์พฤติกรรมการทำงานเชิงรุกของพนักงานระดับปฏิบัติการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โรงไฟฟ้าแม่เมาะ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. หาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุจิตตรา บวรสิทธิพงศ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการเปลี่ยนงานใหม่ของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ : กรณีศึกษา โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม]. https://e-research.siam.edu/kb/factors-influencing-the-motivation-for-change-job/

Attanai Team. (2024, 20 January). ผลสำรวจจากสหรัฐฯพบว่าอาชีพ “ครู” เครียดกว่าคนวัยทำงานอาชีพอื่น. Attanai Team. https://www.attanai.com/discovery/teacher-burnout

Black, D. R., & Loughead, T. A. (1990). Job change in perspective. Journal of Career Development, 17, 3-9. https://link.springer.com/article/10.1007/BF01352361#additional-information

Black, S., & Loughhead, M. (1992). Career transition in education: Moving from teaching to administration. Educational Management Review, 8(2), 45-60.

Breaugh, J. A. (1985). The measurement of work autonomy. Human Relations, 38(6), 551-570.

Hackman, J. R., & Oldham, G. R. (1980). Work redesign. Addison-Wesley.

Herzberg, F. (1959). The motivation to work. John Willey & Sons.

Herzberg, F. (1968). One more time: How do you motivate employees?. Harvard Business Review.