การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสินค้าสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

กฤตย์ตนัย ธารารัตนสุวรรณ
รัตนาภรณ์ จันทรา
อภิภู สิทธิภูมิมงคล
ธนพัฒน์ ศรีวรรธนะ
ศิวพร ลินทะลึก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับห้าดาวในจังหวัดสุพรรณบุรี ระเบียบวิธีวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษา คือ กลุ่มหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้ 5 ดาว จำนวน 22 กลุ่ม และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับห้าดาวในจังหวัดสุพรรณบุรีที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า SUPHANBURI MODELมีองค์ประกอบ 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) Standard (S) คือ มาตรฐานขั้นต้นของผลิตภัณฑ์ชุมชน2) Universal (U) คือ มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ชุมชนที่ได้รับการยอมรับแบบสากล 3) Plan (P) คือ แผนธุรกิจของผลิตภัณฑ์ชุมชน 4) History (H) คือ เรื่องราว ประวัติความเป็นมาและภูมิปัญญาของผลิตภัณฑ์ 5) Assess (A) คือ การประเมินผล 6) Natural (N) คือ ความเป็นธรรมชาติ 7) Branch (B) คือ สาขาหรือเครือข่ายในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน 8) Unity (U) คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน 9) Research (R) คือ กระบวนการวิจัย และ 10) International (I)คือ การสร้างความสัมพันธ์กันระหว่างประเทศผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ 3. ผลการประเมินรูปแบบSUPHANBURI MODEL ที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน สามารถสรุปผลได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดมีฉันทามติว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นในภาพรวมทั้ง 10 องค์ประกอบ มีความสัมพันธ์กันทั้งหมด และสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการสุดยอดสินค้า
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับห้าดาวสำหรับผู้ประกอบการในจังหวัดสุพรรณบุรีได้อย่างเป็นระบบ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ดาริน ชูดวงเกียรติกุล ชุลีวรรณ โชติวงษ์ และ ปรีดา อัตวินิจตระการ. (2565). รูปแบบการจัดการสถานประกอบการ OTOP ให้มีคุณภาพเพื่อการแข่งขันทางการตลาด. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 42(3), 34-58.

ทิชากร เกษรบัว, และฌานนท์ ปิ่นเสม. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) กลุ่มเบญจบูรพาสู่การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา (ด่านอรัญประเทศ)ด้วยการวิเคราะห์ SWOT. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 13(2), 51-65.

รัตนา อัตภูมิสุวรรณ์, และธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2564). แนวทางการบริหารธุรกิจหนึ่งตบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ด้วย วิถีพุทธสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(1), 160-175.

รัชต ไตรมาลัย, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ และปรัชญนันท์ นิลสุข.(2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อรองรับการเป็นประเทศไทย 4.0. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 294-314.

วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี. htp://th.wikipedia.org/wiki (สืบค้นวันที่ 20 เมษายน 2564).

วรวิทย์ พัฒนาอิทธิกุล. บทเรียน E-learning วิชา การโฆษณาและพฤติกรรมผู้บริโภค. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.nsru.acth (สืบค้นวันที่ 23 เมษายน 2564).

เสรี พงศ์พิศ. (2546). แผนชีวิต เศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญาไทย.

เสรี พงศ์พิศ และ สุภาส จันทร์หงษ์ , 2548, ข้อควรรู้เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน, กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี. http:/www.suphan.go.th/content-10-182.html (สืบค้นวันที่ 20 เมษายน 2564).

อาทิมา วงษ์สีมาอนันต์, และชมภูนุช หุ่นนาค. (2563). การพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชุมชนควบคู่ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ในอเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 8(3), 40-55.