ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม

Main Article Content

เอื้ออารี เอกพันธ์
อัครวัฒน์ บุปผาทวีศักดิ์
นาวี อุดร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา 2) ศึกษาและเปรียบเทียบบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา และ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 277 คน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 64 คน ครู จำนวน 213 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำแนกเป็น 2 ฉบับ คือ
1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษามีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .23-.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษามีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .24-.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) บรรยากาศองค์การของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4) ตัวแปรภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา มี 3 ตัวแปรได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีม (X4) ด้านการมีความยืดหยุ่น (X5) และด้านการมีวิสัยทัศน์ (X1) โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 64 สามารถเขียนสมการได้ ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y' = 1.57 + .22X4 + .22X5 + .09X1
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Zy' = .33Z4 + .28Z5 + .13Z1

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เอกพันธ์ เ. ., บุปผาทวีศักดิ์ อ., & อุดร น. . (2025). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 16(1), 38–57. สืบค้น จาก https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/551
บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. พริกหวานกราฟฟิค.

กชพร จันทร์แดง. (2566). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. วารสารทัศนมิติทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 1(2), 1-15. https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE/article/view/637/513

จักรพงษ์ พิลาจันทร์. (2563). การศึกษาบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะที่พึงประสงค์สำหรับครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(2), 39-51. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/235532/165996

จุฑามาส ซุ่นห้วน. (2562). ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ธนัทพงษ์ วังทะพันธ์. (2564). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ภัทริกานต์ บุญฤทธิ์. (2566). ปัจจัยบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ภาสุณีย์ คำพันธ์. (2566). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภูวนาท คงแก้ว และคึกฤทธิ์ ศิลาลาย. (2564). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 2, Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(4), 82-97. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/247655

มะนาพี อินนูยูซี. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์กับการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนราธิวาส [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วาสนา คุระแก้ว, อรรครา ธรรมาธิกุล และธีระพงษ์ สมเขาใหญ่. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 421-434. https://so06.tcithaijo.org/index.php/mcjou/article/view/255827

สุภัสสร ชูประยูร. (2563). การศึกษาบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 12(3), 152-170. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/article/view/245968

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2567. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม.

ศิริกาญจน์ ไกรบำรุง. (2559, 17 มิถุนายน). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาครูผู้สอนโรงเรียนเสิงสาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 นครราชสีมา [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3: เรื่อง ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้สู่ความยั่งยืน, นครราชสีมา, ประเทศไทย.

อมรรัตน์ งามบ้านผือ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัจฉรา หนูยศ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

Brown, W. B., & Moberg, D. J. (1980). Organizational theory and management: A macro approach. John Wiley & Sons.

Fox, R. S. (1975). School climate improvement: A challenge to the school administrator. PhiDelta Kappa.

Hellriegel, D., & Slocum, J. W. (1974). Management: Contingency approach. Addison Wesley Publishing Company.

Jaafari, P., & Soleimani, N. (2012). The relationship among organizational climate, rganizational learning and teachers’ self-efficacy. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 47, 2212-2218. https://drive.google.com/file/d/1prLg1Qf1zTAiFSf_e_8qGuEa_ATUTu6P/view?fbclid=IwAR1uCJ_KkHQ8kEvaG-bIQwFT7jzs2iQa_HHRNkNtlk1UmeJ3_g0LM1H7nGI

Olson, L. (2012). Leadership and creativity in research investigations of leadership and leader-Member exchange (Lmx) in research groups. [Unpublished doctoral dissertation]. University of Gothenburg.

Stringer, R. (2002). Leadership and organization climate. Person Education.