การนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบการนิเทศภายในสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา 2) ศึกษาและเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศภายในสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ปีการศึกษา 2567 จำนวน 277 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 64 คน และ ครู จำนวน 213 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ และใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับการนิเทศภายใน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .49-.62 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .42-.58 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าที (t-test: Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า 1) การนิเทศภายในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ พบว่า ครูมีความคิดเห็นสูงกว่าผู้บริหารสถานศึกษา และจำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า แตกต่างกัน 1 คู่ ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาและครู สถานศึกษาขนาดเล็ก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการนิเทศภายในสถานศึกษาสูงกว่าความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในสถานศึกษาใหญ่และใหญ่พิเศษ
2) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยรวม อยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ และตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครู มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) การนิเทศภายในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวกกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม มี 4 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการประเมินผลการนิเทศ X3 ด้านการปฏิบัติการนิเทศ X2 ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ X4 ด้านการวางแผนการนิเทศ X1 โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 67 สามารถเขียนสมการได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y' = .99 + .25X3 + .20X2 + .20X4 + .13X1
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Zy' = .28Z3 + .23Z2 + .23Z4 + .17Z1
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กชภัทร์ สงวนเครือ. (2562). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กระทรวงศึกธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. หน่วยศึกษานิเทศก์.
จิตรลดา พระสุราช และ จารุวรรณ เขียวน้ำชุม. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2.วารสารการอาชีวศึกษาภาคใต้1, 6(1), 36-43. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/243392
เฉลิมพล กันทะวงค์ (2567). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกขอโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.
เฉลิมวุฒิ โสมงาม. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนครพนม.
ญาณี ญาณะโส. (2562). การศึกษาบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี.
ทัศนัย ใจกาวิน (2566). การนิเทศภายในของสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
รัศมี ภูกันดาน. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.
วิมลมาศ เทียนศรี และ ทินกร พูลพุฒ. (2567). การนิเทศภายในสถานศึกษาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ของครูผู้สอน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(2), 419-437. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/269007
สันติ หัดที. (2563). การพัฒนาระบบการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). เอกสารการนิเทศภายในสถานศึกษา. หน่วยศึกษานิเทศ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบ และ ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. เซ็นจูรี่จำกัด.
อธิกร ทาแกง. (2564). การศึกษาบทบาทการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.
อรวรรณ โล่ห์คํานิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ วริศนันท์ เดชปานประสงค์และ ฤทัยกานต์ อ่อนละออ (2565). การนิเทศภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(1), 186-202. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/svittj/article/view/255884