ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารกับสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

Main Article Content

พรพิมล วงศ์บุญจันทร์
สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) สมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 324 คน ซึ่งได้มาสูตรทาโรยามาเน่ และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation: r)


ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (equation= 4.47) และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง (equation= 4.70) รองลงมาคือด้านร่วมมือกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (equation= 4.57) ส่วนด้านสนับสนุนให้บุคลากรใช้กระบวนการวิจัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (equation= 4.37)  2) สมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (equation= 4.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (equation= 4.56) รองลงมาคือด้านการบริการที่ดี (equation= 4.53) ส่วนด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (equation= 4.44) 3) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวก (r = 0.92) กับสมรรถนะหลักของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สำนักพิมพ์กระทรวงศึกษาธิการ.

กิตติพิชญ์ มั่งสุข. (2564). บทบาทของผู้บริหารมืออาชีพกับสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดระยอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยธวัช สุริกร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะหลักของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วารสารการศึกษาและการพัฒนา, 13(2), 35-52.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). การบริหารการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ศักดิ์ ทองสาคร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารต่อสมรรถนะหลักของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดเชียงราย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า หลวง.

ธนวัฒน์ ช่วยพัทลุง. (2565). บทบาทของผู้บริหารที่มีผลต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารบริหารการศึกษา, 12(1), 75-89.

นภัสสร วงศ์พิชัย. (2564). การสร้างวัฒนธรรมการพัฒนางานวิชาการในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรวิภา สวนมะลิ. (2565). การศึกษาสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิมพ์วดี ธาราไพร. (2563). การสนับสนุนกระบวนการวิจัยในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพครู. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิไลลักษณ์ ปัญญาสม. (2562). ความร่วมมือระหว่างผู้บริหารสถานศึกษากับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วารสารบริหารการศึกษา, 12(3), 53-67.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). การพัฒนาภาวะผู้นำและการบริหารจัดการในสถานศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภาวดี ชูเกียรติ. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการวิเคราะห์และปรับใช้หลักสูตรแกนกลางเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน. วารสารการศึกษา, 8(2), 112-124.

สุภาวดี ทองอนันต. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาคุณภาพครูตาม สมรรถนะหลัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. วารสารการศึกษา, 10(2), 45-58.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร. (2566). รายงานประจำปี 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร. โรงพิมพ์อักษร: สมุทรสาคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). สมรรถนะครู. สำนักพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Day, C. (2000). Teachers in the Twenty-first Century: Time to Renew the Vision. Teachers and Teaching: Theory and Practice, 6(1), 101-115.

Fullan, M. (2007). The New Meaning of Educational Change (4th ed.). Teachers College Press.

Hargreaves, A., & Fullan, M. (2012). Professional Capital: Transforming Teaching in Every School. Teachers College Press.

Leithwood, K., Jantzi, D., & Steinbach, R. (1999). Changing Leadership for Changing Times. Open University Press.

OECD. (2019). Teaching for the Future: Effective Classroom Practices to Transform Education. OECD Publishing.

McKinsey & Company. (2020). How Technology is Reshaping Education: A Global Perspective.

https://www.mckinsey.com/education

UNESCO. (2015). Education 2030: Incheon Declaration and Framework for Action Towards Inclusive and Equitable Quality Education and Lifelong Learning for All. UNESCO.