การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกัน เชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลเมืองปัตตานี

Main Article Content

นันทวรรณ คงสีปาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้        2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 28 คน และนักเรียน จำนวน 234 คน รวมทั้งสิ้น 262 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินทักษะ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า


1.การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้


2.การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า BUKAR Model นำไปดำเนินการพัฒนาครูโดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน เพื่อวัดทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ปรากฏว่า มีความเหมาะสมและเป็นไปได้


3. การทดลองใช้รูปแบบ ได้มีการนำรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายในไปใช้ในการดำเนินงานให้แก่ครู ครูมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการ ได้ดังผลการทดลองก่อนดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการเปรียบเทียบการทดลองก่อน - หลังการดำเนินการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


4.การศึกษาความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไข ปรากฏว่าครูและนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จนถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กระทรวงศึกษาธิการ.

กัลยา จันทร์พราหมณ์. (2562). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)ตามแนวการสอนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. มหาวิทยาลัยบูรพา.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตรตรา วรรณมณ. (2562). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่จัดการเรียนรู้โดยบูรณาการกับ ข้อมูลท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวังหินวิทยาคม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

จิรชพรรณ ชาญช่าง. (2563). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง: การเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุรีพร คุริรัง. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. https://www.krubannok.com/board_view.php?b_id=155358.

ชนาธิป พรกุล. (2561). กระบวนการสร้างความรู้ของครู กรณีการสอนบูรณาการ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชา ศรีเศรษฐา. (2561). การศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ณัชชา สอนสมฤทธิ์. (2563). กระบวนการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. คุรุสภาวิทยาจารย์.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 23). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญลักษณ์ ประทุมสินธ์. (2561). การบริหารการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

บุหงา คงราช. (2560). แนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีษะเกษ เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประวิต เอราวรรณ์. (2545). การวิจัยปฏิบัติการ. ดอกหญ้าวิชาการ.

ไพรวรรณ ดอนกระสินธุ์. (2561). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภานุพงศ์ โสนโชติ. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ลัดดา ธนะภูมิชัย และสมปัต ตัญตรัยรัตน์. (2564). ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยหน่วยบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์. 8(1), 110 -117.

สุวิทย์ มูลคำ. (2542). แฟ้มสะสมงาน. ทีพี พริ้นท์.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30 : 607 – 610.