ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้อำนวยการสถานศึกษา กับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี

Main Article Content

สุทธิพงศ์ เสมสูงเนิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี (2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้อำนวยการสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ประจำปีการศึกษา 2567 จำนวน 334 คน โดยใช้สูตรการคำนวณของ Yamane และในการเลือกตัวอย่างผู้วิจัยใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 1 ฉบับ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 อันดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้อำนวยการสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้อำนวยการสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

คมธนู ควรประเสริฐ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำใฝ่บริหารของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการทำ งานของครูโรงเรียนเอกชนในเครือเซนตม์ารีอา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3676

ชนาพล จั่นลา. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารการบรหารการศกษาและภาวะผนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(33), 325-334.

ธนบดี ศรีโคตร. (2562). สภาพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธนพรรธ อนุเวช. (2564). แนวทางการสร้างเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธวัชชัย แสงแปลง. (2563). รูปแบบภาวะผู้นำใฝ่บริการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งความสุข. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกำแพงเพชร.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 18). สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

เธียรขวัญญ์ ทรัพย์ธนมั่น. (2565). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(2), 330-344. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/262993

นาถฤดี เดชรักษา และสุนทรี วรรณไพเราะ. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(1), 16-31. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15784

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2561, 18 พฤษภาคม). การวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. https://adacstou.wixsite.com

ปณิฎฐา เกลียวสัมพันธ์ใจ. (2565). ภาวะผู้นำใฝ่บริการ: ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในรูปแบบใหม่. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 4(4), 65-76.

พรรณทิพภา จำเนียรพรม และณิรดา เวชญาลักษณ์. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 16(2), 87-102.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23.

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี คําแถลงนโยบายต่อรัฐสภา. (2566, 11 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 140 ตอนพิเศษ 221 ง. หน้า 1-41.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. (2567). แผนบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. https://drive.google.com/file/d/1FpZ9NS4IFk0_J1sUQ_F2VX2xeFilnHFb/view

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. (ม.ป.ป.). ข้อมูลพื้นฐาน. https://spmpt.go.th/vission/

หทัยทิพย์ เสน่ห์ดุษฎี และคณะ. (2562). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานเจนวายในโรงแรม 5 ดาว ย่านสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14 (1), 205 – 217.

ไอยภัทร์ วันกาวิสาน. (2564, 17 กรกฎาคม). MASLOW’S HIERARCHY OF NEEDS ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ คือ อะไร. https://digitorystyle.com/what-is-maslows-hierarchy-of-needs/

Administrator. (2560, 13 กรกฎาคม). ทฤษฎีและการพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership Theories). https://km.raot.co.th/km-knowledge/detail/441

Yamane, T. (1973). STATISTICS An Introductory Analysis. (3rd ed). Harper and Row.