รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนประชารัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนประชารัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 462 คน และกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนต้นแบบ 6 โรงเรียน จำนวน 12 คน ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ ตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน ใช้วิธีการสนทนากลุ่มและ ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ใช้แบบประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ คือ 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) องค์ประกอบหลักของรูปแบบ 4) การประเมินผลรูปแบบ และ 5) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้
3. ผลการประเมินรูปแบบ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
เกษร ทองแสน. (2553). การพัฒนาครูตามมาตรฐานวิชาชีพครูคณิตศาสตร์โดยใช้การศึกษาบทเรียน.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉลาด ปาโส. (2559). การพัฒนารูปแบบพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อพึ่งตนเองของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยสารคาม.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ:ข้าวฟ่าง.
ฑิฆัมพร บุญมาก. (2558). การพัฒนาระบบพัฒนาครูในด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545ก). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิสุทธิ์ เวียงสมุทร. (2553). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 1-2. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีณา โฆษิตสุรังคกุล. (1998). PDCA: วงจรสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เสนอ ภิรมจิตรผ่อง, สมาน อัศวภูมิ และพงษ์ธร สิงห์พันธ์. (2555). รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก: ระยะที่ 1 จังหวัดอุบลราชธานี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Lovett, S. (2002). Teacher Learning and Development in Primary Schools: A View Gained Ghrough the National Education Monitoring Project. Canterbury: University of Canterbury.
Robinson, R. and Carrington, S. (2002). Professional Development for Inclusive Schooling. The International Journal of Educational Management, 35(4): 138-166.