การพัฒนากิจกรรมการฝึกตารางเก้าช่อง เพื่อส่งเสริมความคล่องแคล่วว่องไว สำหรับนักกีฬาฟุตซอลระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

ธีรพงศ์ พิมลี
อธิราชย์ นันขันตี
นิราศ จันทรจิตร

บทคัดย่อ

การพัฒนากิจกรรมการฝึกตารางเก้าช่องเพื่อส่งเสริมความคล่องแคล่วว่องไว เป็นเครื่องมือช่วยนักเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาบรรลุเป้าหมายและเกิดประสิทธิผลได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการฝึกตารางเก้าช่องและ ศึกษาระดับผลการฝึกตารางเก้าช่องที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล 2) เปรียบเทียบก่อนและหลังได้รับการฝึกด้วยตารางเก้าช่องของนักกีฬาฟุตซอล 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการฝึกตารางเก้าช่อง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนกีฬาฟุตซอล จำนวน 24 คน โรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน โปรแกรมการฝึกตารางเก้าช่อง จำนวน 8 โปรแกรม แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย และ แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 5 ข้อ คุณภาพเครื่องมือ ของแบบทดสอบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสถิติด้วย t-test (Dependent Samples)


           ผลการวิจัย พบว่า 1) การฝึกตารางเก้าช่องมีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในการเล่นกีฬาฟุตซอลโดยรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.39 วินาที (S.D. = 1.32) ก่อนใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.46 วินาที (S.D. = 1.34) ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และ หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.39 วินาที (S.D. = 1.32) ซึ่งอยู่ในระดับดี 2) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการฝึกตารางเก้าช่อง มีความคล่องแคล่วว่องไวในการเล่นกีฬาฟุตซอลสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีเวลาเฉลี่ยความคล่องแคล่วว่องไวก่อนการฝึกเท่ากับ 21.46 วินาที (S.D. = 1.34) และ หลังการฝึกเท่ากับ 19.39 วินาที (S.D. = 1.32) ตามลำดับ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจในการฝึกตารางเก้าช่องโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.96 (S.D. = 0.12)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

คุณานนต์ ตันเจริญสุข. (2565). การเปรียบเทียบผลการฝึกโปรแกรมพลัยโอเมตริกรวมกับโปรแกรมตารางเก้าช่องที่มีต่อ พลัง ความเร็ว และคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตบอลชาย. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(2), 195-205. https://so03.tci- thaijo.org/index.php/tahper/article/view/259516

จาตุรนต์ ลิ่มหัน. และภาคภูมิ รัตนโรจนากุล. (2562). แรงจูงใจในการตัดสินใจเล่นกีฬาฟุตซอลอาชีพ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(1), 12-15. https://so03.tci- thaijo.org/index.php/tahper/article/view/243050

ณัฐกานต์ อยู่เกตุ. (2563). ปัจจัยที่ส่งเสริมความเป็นเลิศของนักกีฬาเปตองทีมชาติไทย. วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ, 46(2), 261-269. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tahper/article/view/246877

ธนพจน์ โพสมัคร. (2562). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างกริท (Grit) ของนักเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์กระทรวงวัฒนธรรม. วารสารราชพฤกษ์, 17(1), 59-65.

พงศธร จันทุมา. (2565). โปรแกรมการอบอุ่นร่างกายแบบ PAP ร่วมกับการฝึกแบบผสมผสานี ที่มีต่อพลังกล้ามเนี้อขา ความเร็วความคล่องแคล่วว่องไว และความทนทานของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดของนักกีฬารักบี้ฟุตบอล. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(1), 350-363. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tahper/article/view/255970

ภัสสร ธูปบุตร. (2562). ผลการฝึกแบบผสมผสานและการฝึกแบบควบคู่ที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไว ของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ] http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/ 123456789/590

ภาพัชร คำนึง และ พิทยา ตุลาธร. (2562). พลศึกษา 6. เอมพันธ์.

Diego, H. F., Diogo, H. F., Antonio, C. D., Luiz, C. R. S., & Helcio, R. G., (2021). Evaluation of body composition and its relationship with physical fitness in professional soccer players at the beginning of pre-season. Retos, 40, 117-125.

Racil, G., Jlid, M. C., Bouzid, M. S., Sioud, R., Khalifa, R., Amri, M., Gaied, S., & Coquart, J. (2020). Effects of flexibility combined with plyometric exercises vs isolated plyometric or flexibilitymode in adolescent male hurdlers. The Journal of Sports Medicine and Physical Fitness, 60(1), 45-52. https://doi.org/10.23736/s0022-4707.19.09906-7