แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร

Main Article Content

จามจุรี อินไชยา
ชาญวิทย์ หาญรินทร์
ไพฑูรย์ พวงยอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ประเมินความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา (3) พัฒนาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา (4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 47 คน และครู จำนวน 258 คน รวมทั้งสิ้น 305 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามขนาดของสถานศึกษา โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .80 – 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .27 – .83 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .96 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80–1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .26 – .78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .96 (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่าดัชนี ความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และ (4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ มีค่าดัชนี ความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

  2. ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และด้านการมีความคิดสร้างสรรค์

  3. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรศึกษาข้อมูล ข่าวสาร เหตุการณ์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการปฏิบัติงาน 2) ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการระบบข้อมูลในสถานศึกษา 3) ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการบริหารสถานศึกษา 4) ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง ใช้คำพูด ท่าทาง การวางตนที่เหมาะสม 5) ด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ผู้บริหารสถานศึกษา  ควรสนับสนุนให้บุคลากรในกลุ่มเครือข่ายได้แสดงศักยภาพของตน 6) ด้านการมีคุณธรรมและจริยธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นผู้ที่มีจิตใจดี โอบอ้อมอารี มีความรักและความศรัทธาในวิชาชีพ

  4. ผลการประเมินแนวทางพัฒนาโดยรวมพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีความ เป็นไปได้ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กมล รอดคล้าย. (2558). การศึกษาไทย ก้าวไกลสู่อาเซียน. บันทึก 2558. กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กันตชาติ กุดนอก. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2.

วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เจริญ ภู่วิจิตร์. (2565). ภาวะผู้นำทางการศึกษาโลกยุคผันผวน. สืบค้น เมษายน 8, 2566 จาก http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20210827.pdf.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปณิตา แก้วกระจ่าง. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

พัชรา วาณิชวศิน. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำ : จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

พีรวัฒน์ ทองเพชร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

มาธุสรณ์ ใจแน่น. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติ เป็นเลิศ: พหุกรณีศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

รวิภา ศรีวัตร. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษาปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

รุ่งนภา พรหมภักดี และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. วารสารการบริหารการศึกษา และภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชกัฏสกลนคร, 5 (18) : 1 – 7.

สรรเพชญ ไตรยงค์. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารงานวิชาการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

________. (2566). ข้อมูลอัตรากำลังข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566. สืบค้น มิถุนายน 15, 2566 จาก

https://smart.mdh.go.th/modules/book/upload files/1689575292x420843019_3.pdf.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2557). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและปฏิบัติ ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. กรุงเทพฯ: วิรัตน์เอ็ดลูเคชั่น.

อัษฎาวุธ บุญเกิด. (2565). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษาปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Fadia and et al. (2022). Effect of Principal’s Technology Leadership on Teacher’s Technology Integration. International Journal of Instruction, 15(1), 781 - 798.

Khuyen, B., Zhu, C., and Caliskan, A. (2022). Perceived Effectiveness of Academic Leadership Development Training: The Contribution of Motivational Factors And Peer Interaction. Research in Educational Administration &Leadership, 7(3), 633-678.

Maddah, H. (2021). Educational Leadership for Development of Structural Plans, Cultural Diversity, Curriculum Standards, and Faculty Engagement. International Conference on Humanities, Social and Education Sciences, New York, USA. ISTES Organization.

Sterrett, W. and Richardson, J. (2020). Supporting Professional Development Through Digital Principal Leadership. Journal of Organizational &Educational Leadership, 5(2), 1-19.