การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

รุ่งทิพย์ สิงพร

บทคัดย่อ

การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เป็นเครื่องมือการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ทำให้เกิดความมั่นใจ ว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาทุกคนจะมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความต้องการของสังคม การวิจัยครั้งนี้มีความ มุ่งหมายสองประการ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ (2) เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำหรับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิธีดำเนินการวิจัยใช้กระบนการวิจัยแบบผสานวิธีโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจและ วิจัยและพัฒนา ในการศึกษาสภาปัจจุบันในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดำเนินการโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร ในการพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพการศึกษาภายใน เก็บรวบรวมข้อมูล โดย แบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้การศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สร้างแบบสอบถามถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน โดยใช้เทคนิค เดลฟาย สรุป ความคิดเห็นที่สอดคล้องกันของผู้เชี่ยวชาญมาสร้างเป็นระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ก่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครั้งนี้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควรเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ 2. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ พัฒนาขึ้นประกอบ 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนำเข้า มีจำนวน 6 มาตรฐาน ได้แก่ ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านการเงิน และงบประมาณ รวม 18 ตัวบ่งชี้ ด้านกระบวนการมี 9 มาตรฐาน ได้แก่ ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนงาน ด้านการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมการพัฒนานิสิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านการเงินและงบประมาณ ด้านระบบและกลไก การประกันคุณภาพ รวม 26 ตัวบ่งชี้ และด้านผลผลิต มี จำนวน 8 มาตรฐาน ได้แก่ ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนงาน ด้านการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมการพัฒนานิสิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการ วิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านระบบและกลไกการ ประกันคุณภาพ รวม 19 ตัวบ่งชี้ รวม 9 มาตรฐาน 63 ตัวบ่งชี้กลไกในการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน คือ ศึกษาสภาพปัจจุบัน สร้างตัวบ่งชี้จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 คน นำตัวบ่งชี้ที่ได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ ความเป็นไปได้ การกำหนดให้หน่วยงาน บุคลากรรับผิดชอบซึ่งได้แก่ฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ และการกำหนด กิจกรรมประกันคุณภาพทุกปี ผลการประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ปฏิบัติของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน พบว่า ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัย นำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.50, 4.34 และ 4.23 ตามลำดับ โดยสรุป ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก จึงสมควรนำระบบนี้ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรือสถาบันการศึกษาอื่นๆ ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2538). การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการม. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง. (2543). การพัฒนาดัชนีบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน.

จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์. (2544). การเปรียบเทียบสมรรถนะ: คู่มือสำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลีย. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่องการเปรียบเทียบสมรรถนะกับการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

จุรีวรรณ มณีแสง. (2543). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพของสถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชน.วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพล ชุมวรฐายี. (2545). บันไดสู่การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยห์จำกัด.ทบวงมหาวิทยาลัย

สำนักมาตรฐานการอุดมศึกษา ส่วนวิจัยและพัฒนา. (2543). การประกันคุณภาพ การศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรชุลี อาชวอำรุง. (2534). "เกณฑ์การประเมินสถาบันอุดมศึกษาไทย, ' วารสารครุศาสตร์. ปี ที่ 20ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม : 2534)

สมคิด พรมอุ้ย. (2544). การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. นนทบุรี : สำนักพิมพ์หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2544). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา : ยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อเตรียมรับการประเมินภายนอก. วารสารวิชาการ, 4(9), กันยายน.

อุทุมพร จามรมาน. (2541). การประกันคุณภาพระดับอุดมศึกษา (Quality Assurance in Higher Education).เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา 24มิถุนายน ณ ห้องประชุมสายสุรี จุติกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บำรุง จันทวานิช. (2542). แนวคิดการประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ.วารสารข้าราชการครู, 19(3), กุมภาพันธ์-มีนาคม.

Baumgart, N. (1987). Equity, Quality and Cost in Higher Education. Bangkok : UNESCO PrincipalRegional Office For Asia and ThePacific.