การพัฒนารูปแบบการแพร่เพื่อการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา: กรณีศึกษา รายการโทรทัศน์ครู (TTV)

Main Article Content

ฐิติชัย รักบำรุง
พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ
ทิพย์เกสร บุญอำไพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการแพร่เพื่อการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา: กรณีศึกษา รายการโทรทัศน์ครู (TTV) 2) ประเมินรับรองรูปแบบการแพร่เพื่อการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา: กรณีศึกษา รายการโทรทัศน์ครู (TTV) โดยผู้ทรงคุณวุฒิวิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสาร หลักการทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 2) การวิเคราะห์ระบบการแพร่ รายการโทรทัศน์ครู (TTV) ปัจจุบัน 3) การวิเคราะห์การแพร่รายการโทรทัศน์ครูโดยใช้การเก็บข้อมูลด้านปริมาณจากแบบสอบถาม การเก็บข้อมูลด้านคุณภาพจากการสัมภาษณ์เจาะลึก และการสนทนากลุ่ม 4) การพัฒนาร่างรูปแบบการแพร่เพื่อการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา: กรณีศึกษา รายการโทรทัศน์ครู (TTV) 5) การตรวจสอบ ปรับปรุงคุณภาพของรูปแบบการแพร่เพื่อการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา: กรณีศึกษา รายการโทรทัศน์ครู (TTV) โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 6) การนำ รูปแบบการแพร่เพื่อการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา: กรณีศึกษารายการโทรทัศน์ครู (TTV) ที่พัฒนาขึ้นไปยืนยันและแสดงความคิดเห็นโดยประธานกรรมการฝ่ายต่างๆ ของโครงการโทรทัศน์ครู (TTV) เพื่อมาปรับปรุง 7) การประเมินเพื่อรับรองรูปแบบการแพร่เพื่อการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา: กรณีศึกษารายการโทรทัศน์ครู (TTV)โดยผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลด้านปริมาณ จำนวน 2,368 คน และด้านคุณภาพ จำนวน 303 คน จากกลุ่มครู ผู้บริหาร นิสิต/นักศึกษาครู และผู้ปกครองทั่วประเทศ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สนทนากลุ่ม (Focus Group)คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและ เทคโนโลยีการศึกษา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการแพร่ และการยอมรับนวัตกรรม จำนวน 10 ท่าน 3) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการยืนยันและแสดงความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบคือประธานกรรมการฝ่ายต่างๆในโครงการโทรทัศน์ครู จำนวน 6 ท่าน และ 4) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินรับรองรูปแบบ คือผู้ทรงคุณวุฒิด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ 1) แบบสอบถาม ระดับการยอมรับรายการ การรับชม ความต้องการที่มีต่อรายการโทรทัศน์ครู และความคิดเห็นที่มีต่อรายการโทรทัศน์ครู 2) โครงสร้างคำถามเพื่อการสัมภาษณ์เจาะลึกสำหรับกลุ่มผู้บริหาร และแนวทางการสนทนากลุ่มสำหรับ ครู นิสิต/นักศึกษาครูและผู้ปกครอง 3) แบบสอบถามปลายเปิดสำ หรับผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบร่างรูปแบบ 4) รูปแบบการแพร่เพื่อการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา: กรณีศึกษา รายการโทรทัศน์ครู (TTV) 5) แบบสอบถามเพื่อยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบ 6) แบบประเมินรับรองรูปแบบการแพร่เพื่อการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา:กรณีศึกษา รายการโทรทัศน์ครู (TTV)


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการแพร่เพื่อการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา: กรณีศึกษา รายการโทรทัศน์ครู (TTV) มีองค์ประกอบหลักในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ (1)ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ (2) กระบวนการขั้นสื่อสารให้รู้ว่ามีรายการโทรทัศน์ครู (3) กระบวนการขั้นสื่อสารให้รู้ว่ารายการโทรทัศน์ครูดี (4) กระบวนการขั้นสื่อสารให้เกิดการตัดสินใจยอมรับรายการ (5) กระบวนการขั้นสื่อสารให้เกิดการนำรายการไปใช้ (6) กระบวนการขั้นสื่อสารให้เกิดการยืนยันการใช้รายการ 2) ผลการยืนยันรูปแบบการแพร่เพื่อการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา: กรณีศึกษา รายการโทรทัศน์ครู (TTV) จากประธานกรรมการฝ่ายต่างๆ ของโครงการโทรทัศน์ครู พบว่ารูปแบบการแพร่สำหรับผู้บริหารและครู มีความ“เหมาะสมมาก” ( x̅= 4.39) รูปแบบการแพร่สำหรับนิสิต/นักศึกษาครู มีความ“เหมาะสมมาก” ( x̅= 4.43) และรูปแบบการแพร่สำหรับผู้ปกครอง มีความ“เหมาะสมมาก” ( x̅= 4.20) และในภาพรวมรูปแบบการแพร่มีความ“เหมาะสมมาก” ( x̅= 4.34)3) ผลการประเมินรับรองรูปแบบการแพร่เพื่อการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา: กรณีศึกษารายการโทรทัศน์ครู (TTV) จากผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในเกณฑ์ “เหมาะสมมาก” ( x̅= 4.32) 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Faculty of Education Burapha University. (2010). The development of TV program for teacher development Project: Analysis of Policy, Content, Design, Preparation for Television Programs, Development and Production of Media Content Under the development plan for education “Strong Thailand Action Plan (B.E. 2553-2555)”. Chonburi: Faculty of Education Burapha University.

Havighurst, R. (1972). Human Development and Education. 3rd ed. New York: Longmans.

Jongruk Jangyubol. (2002). A Study on Level and Factors of Social Studies Teachers Acceptance of Instructional Innovations at Secondary School Level, Bangkok Metropolis. Master Degree in Teaching Social Studies Department of Secondary Education. Bangkok: Faculty of Education Chulalongkorn University.

Kotler, P., Brown, L., Adam, S., and Armstrong, G. (2004). Marketing. 6th ed. Sydney: Pearson Education Australia.

Lungsana Boonnimit. (1999). The Relationships Among Roles of Parents, Teachers and Peers in Supporting English Learning Achievement of Mathayom Suksa Three Students in Schools under the Department of General Education, Bangkok Metropolis. Master in Teaching English as a Foreign Language Department of Secondary School. Bankok: Faculty of Education Chulalongkorn University.

Office of the Education Council . (2011). Education Reform Policy in the Second Decade (B.E. 2552-2561). Bangkok: Ministry of Education.

Porter, L. W., & Lawler, E. E. (1968). Managerial Attitudes and Performance. Homewood, IL: Richard D. Irwin, Inc.

Rogers M Everettm. (2003). Diffusion of Innovations. 5Th ed.NewYork: Free Press A Division of Simon & Schuster, Inc.

Schramm W. (1973). Channels and Audience in Handbook of Communication. Chicago: R.Mcnally College Publishing Company.

Sumlee Thongthew. (2002). Diffusion of Educational innovations for Administrators and Teachers in the Education Reform. Bangkok: Chulalongkorn University

Printing House. Surapong Sotanasathien. (1990). Communication and Social. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Suwimon and Others. (2012). Analysis of School’s Education Development Process after the First Round of External Evaluation. Document for the national conference “The quality of Education for Thailand”. Bangkok: Research Affairs Faculty of Education Chulalongkorn University.