การติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานภาพทั่วไปของมหาบัณฑิตก่อนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท (2) ความคิดเห็นของมหาบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 3) ผลผลิตมหาบัณฑิต หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีจับสลากแบบง่าย (Simple Random Sampling) จากมหาบัณฑิตที่ศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่าสถานภาพทั่วไปของมหาบัณฑิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 41-50ปี และหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านศึกษาศาสตร์ครุศาสตร์ ตำแหน่งปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นครูสายผู้สอน ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมากด้านความเหมาะสมของรายวิชาทุกรายวิชามีความเหมาะสม ด้านความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับมาก ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลในระดับมาก ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอนในระดับมาก ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษาประจำหลักสูตรในระดับมาก ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษาการศึกษาค้นคว้าอิสระ ในระดับมากสำหรับผลผลิตมหาบัณฑิต คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรส่วนใหญ่ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 3.26-3.50 ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ลักษณะงานที่ทำหลังจากสำเร็จการศึกษา มีความพึงพอใจในงานปัจจุบันที่ทำมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรกฏ พลตรี. (2541). การติดตามผลบัณฑิตโปรแกรมพัฒนาชุมชน สถาบันราชภัฏสกลนคร วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2541). มหาวิทยาลัยที่ทางแยก. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

ดวงเดือน เทศวานิช. (2548). การประเมินหลักสูตรและติดตามผลบัณฑิตหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. รายงานการวิจัย วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

บวรนรรฏ เกตุสุวรรณ์. (2549). การติดตามผลบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ปีการศึกษา 2543 - 2547. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี :มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงาน. (มปป.). กฎหมายและระเบียบในการบริหารงานบุคคลสำหรับ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ฉบับปรับปรุงใหม่พ.ศ.2551. สวัสดิการสำนักงาน ก.ค.ศ. มปท.

ปิยวรรณ เกาะแก้ว. (2551). “การให้บริการทางการศึกษา,” ใน วารสารวิชาการ. 11(3): 21 – 25 ; กรกฎาคม - กันยายน.

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หลักสูตรการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2548.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 - 2561). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิก.

วิทยาลัยนาฏศิลป์. (2542). วารสารวังหน้า. กรุงเทพฯ : จงเจริญการพิมพ์.

เสาวลักษณ์ สมบูรณ์ผล. (2543). การติดตามศึกษานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่สายสังคมศาสตร์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. เชียงใหม่ :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.