การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

Main Article Content

อมรรัตน์ บุญเสนอ
ธัชชัย จิตรนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำนวน 320 คน คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนละ 7 คน รวม 179 คน ผู้นำชุมชนโรงเรียนละ 1 คน รวม 63 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดกับตารางสำเร็จรูปของ Krejcieและ Morjan แล้วทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratifind Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ได้แก่ แบบประเมินสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้


1. องค์ประกอบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 พบว่า มีองค์ประกอบจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม, การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก, การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก, การบูรณาการการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอน,การประเมินพัฒนาการ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


2. สภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรกคือ การบูรณาการการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนการประเมินพัฒนาการการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก และด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กผลการศึกษาสภาพที่พึงประสงค์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรกคือ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กการประเมินพัฒนาการ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก และด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการบูรณาการการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอน


3.แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา มีทั้งหมด 5 ด้าน 35 แนวทาง ได้แก่ การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม มี 8 แนวทาง โดยจัดตั้งคณะทำงานเลือกบุคคลซึ่งมีความสามารถหรือผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความตั้งใจในการปฏิบัติงาน เช่น ครูปฐมวัย ผู้บริหารสถานศึกษาตัวแทนจากชุมชนหรือคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดทำหลักสูตร การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มี 9 แนวทาง โดยจัดบรรยากาศของสภาพแวดล้อมให้เหมือนสภาพจริงมากที่สุดโดยจัดเป็นสัดส่วน ตั้งอยู่ห่างจากแหล่งอบายมุข ฝุ่นละออง กลิ่น เสียงรบกวน และพื้นที่เสี่ยงต่ออันตรายรวมทั้งถูกสุขลักษณะ เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ปลอดภัย ร่มรื่น และสวยงามให้อบอุ่นคล้ายบ้านและสอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมในท้องถิ่น การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก 6 แนวทาง มีการดำเนินการจัดกิจกรรมโดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองและคนในชุมชนที่จะมีส่วนช่วยในการวางแผนและออกแบบการจัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันโดยมีมีการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษามาจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก การบูรณาการการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอน มี 5 แนวทาง ต้องมีการวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างครู ผู้เรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการมี 7 แนวทาง ซึ่งครูควรประสานงานกับพ่อแม่ผู้ปกครอง และพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวัดและการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเสมอเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลเด็กทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนเพื่อช่วยกันพัฒนาเด็กอย่างเต็มศักยภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กนกวรรณ์ คงสอดทรัพย์. (2555). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนเอกชน ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

กรมวิชาการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชนนิดา พรมทอง. (2556). สภาพความต้องการและแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดอุบลราชธานี.การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เผียน วงศ์ทองดี. (2554). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนวัดลาดศรัทธาราม (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 128) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม.เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีรยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554)การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีรยาสาส์น.

พัชรียาภรณ์ พิมพาเรือ. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน). (2557).รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2540). เอกสารการสอนชุดวิชา การจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษา หน่วยที่ 1-14.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อธิพงษ์ ดาวเวียงกัน. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านแม่หงานหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.