การพัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับครูคณิตศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21

Main Article Content

กิตติ บุญปรุง
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับครูคณิตศาสตร์ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศแบบสอนแนะสำหรับครูคณิตศาสตร์ และ 3) พัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับครูคณิตศาสตร์ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะตามความมุ่งหมายของการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูคณิตศาสตร์ จำนวน 271 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัด แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง


ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับครูคณิตศาสตร์มี 4 องค์ประกอบ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเตรียมการก่อนการนิเทศแบบการสอนแนะ มี 4 ตัวชี้วัด 2) ด้านการดำเนินนิเทศแบบการสอนแนะ มี 3 ตัวชี้วัด 3) ด้านการปฏิบัติงานตามการนิเทศแบบการสอนแนะ มี 2 ตัวชี้วัด และ 4) ด้านการตรวจสอบและประเมินผลการนิเทศการสอนแนะ มี 2 ตัวชี้วัด 2. สภาพปัจจุบันของการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับครูคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศแบบแนะสำหรับครูคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน และระดับมาก 1 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย คือ ด้านการตรวจสอบและประเมินผลการสอนแนะ ด้านการดำเนินการสอนแนะ ด้านการลงมือปฏิบัติงานตามการสอนแนะ และด้านการเตรียมการก่อนการสอนแนะ 3. แนวทางการพัฒนาการนิเทศแบบ สอนแนะ สำหรับ
ครูคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย ด้านการเตรียมการก่อนการสอนแนะ มี 5 แนวทาง ด้านการดำเนินการสอนแนะ มี 3 แนวทาง ด้านการลงมือปฏิบัติงานตามการสอนแนะ มี 3 แนวทาง และด้านการตรวจสอบและประเมินผลการสอนแนะ มี 5 แนวทาง ผลการประเมินแนวทาง พบว่า ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางโดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กันยา เจริญถ้อย. (2553). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้การสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.

คณาจารย์ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2553). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ชญากาญจธ์ ศรีเนตร. (2558). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(พิเศษ), 124-137.

ชารี มณีศรี. (2542). การนิเทศการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โสภณการพิมพ์.

ดวงหทัย โฮมไชยะวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการโค้ชและการดูแลให้คําปรึกษาแนะนํา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูประถมศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ ปร.ด., มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ธัญพร ชื่นกลิ่น. (2553). การพัฒนารูปแบบการโค้ช เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาลที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ ปร.ด., มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

รัตนา ดวงแก้ว. (2554). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการนิเทศการเรียนการสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรสิทธิ์ วรรณพงษ์. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการนิเทศภายในของผู้บริหารการศึกษา สังกัดเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.

ส่งเสริม โกนขุนทด. (2551). การนำเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, กรุงเทพฯ.

สมิต สัชฌุกร. (2547). เทคนิคการสอนงาน. กรุงเทพฯ: สายธาร. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้

คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (2558). ข้อมูลสารสนเทศ. ปีการศึกษา 2558.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2557). การเสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน: การนิเทศแบบให้คำชี้แนะ (Coaching).

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2548). สอนอย่างไรให้ได้งาน (Coaching). กรุงเทพฯ: เอช อาร์เซ็นเตอร์.