การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน สำหรับสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์สมรรถนะครู ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน สำหรับสถานศึกษา และ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านการบริหาจัดการชั้นเรียน สำหรับสถานศึกษา เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะตามความมุ่งหมายของการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 327 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัด แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง
ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมในชั้นเรียน 2) การสร้างความสัมพันธ์ทางบวก 3) การกำหนดกฎระเบียบ กติกา 4) การสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 5) การจัดสภาพแวดล้อมภายในชั้นเรียน และ 6) การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน มี 4 ตัวชี้วัด การสร้างความสัมพันธ์ทางบวก มี 6 ตัวชี้วัด การกำหนดกฎระเบียบ กติกา 3 ตัวชี้วัด การสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ มี 3 ตัวชี้วัด การจัดสภาพแวดล้อมภายในชั้นเรียน มี 4 ตัวชี้วัด และการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ 5 ตัวชี้วัด 2. สภาพปัจจุบันสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน สำหรับสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรกคือ การกำหนดกฎระเบียบ กติกา การจัดสภาพแวดล้อมภายในชั้นเรียน การสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การจัดกิจกรรมในชั้นเรียน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์สมรรถนะ ครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 3. การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษาประกอบด้วย 1) แนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัด กิจกรรมในชั้นเรียน มี 10 แนวทาง 2) แนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการสร้างความสัมพันธ์ทางบวก มี 7 แนวทาง 3) แนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการกำหนดกฎระเบียบ กติกา มี 7 แนวทาง 4) แนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ มี 5 แนวทาง 5) แนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดสภาพแวดล้อมภายในชั้นเรียนมี 11 แนวทาง 6) แนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ มี 6 แนวทาง
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการนำจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: องค์การค้ารับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ญาณภัทร สีหะมงคล. (2552). “การวิจัยและพัฒนา” ค้นคืนวันที่ 28 มีนาคม 2552 จาก http://www.ntc.ac.th/news/ntc_50/research/20/res
ประทวน มูลหล้า. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียนของครู ระดับมัธยมศึกษาช่วงชั้นที่ 3 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พชรวิทย์ จันทรศิริสิร. (2554). การพัฒนาสมรรถนะทางการบริหาร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มะลิวัน สมศรี. (2558). การพัฒนาคู่มือพัฒนาสมรรถนะทางวิชาการของครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟริค จำกัด.
วัชรีวรรณ ไชยแสนทา. (2550). การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูประจำชั้นระดับปฐมวัยศึกษา โรงเรียนวัดบางปะกอก กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิสุทธิ์ เวียงสมุทร. (2553). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 1-2. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2544). การพัฒนาการเรียนการสอนทางการอุดมศึกษา. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหวัง มหาวัง. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. (2557). แผนปฏิบัติการประจำ ปี 2559. กาฬสินธุ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24.
Etheridge, Tasha R. (2010). Assertive Discipline and its Impact on Disruptive Behavior. Minnesota: Capella University.
Gilpatrick, Robin Sue Holzworth. (2010). Classroom Management Strategies and BehavioralInterventions to Support Academic Achievement. Minnesota: Walden University.