การพัฒนาการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมกล้าแสดงออก ทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

พงศธร วรรณหอม
จิระพร ชะโน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมกล้าแสดงออก ทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ก่อน ระหว่าง และหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย 3) ศึกษาพฤติกรรมกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย ก่อน ระหว่าง และหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 ขวบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพนสวรรค์ เทศบาลตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 20 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย 4 หน่วยการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน มีความเหมาะสมอยู่ระหว่าง 4.20 ถึง 5.00 2) แบบประเมินทักษะทางภาษาจำนวน 2 ชุด แยกเป็นแบบประเมินทักษะการฟังจำนวน 10 ข้อ แบบประเมินทักษะการพูดจำนวน 10 ข้อ มีคุณภาพดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 – 1.00 เช่นเดียวกัน 3) แบบประเมินพฤติกรรมกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมกล้าแสดงออก ทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพ 84.06/87.57 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย ทักษะการฟังมีพัฒนาการดีขึ้น เด็กมีสมาธิตั้งใจฟังเรื่องที่ผู้อื่นพูด ไม่คุยกัน ให้เกียรติผู้พูด เมื่อฟังแล้วสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ถูกต้อง ส่งผลให้ผลการประเมินหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนและระหว่างจัดประสบการณ์ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.75 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.50 ทักษะการพูดมีพัฒนาการดีขึ้น เช่นเดียวกัน เด็กปฐมวัยสามารถตอบคำถามด้วยตนเองได้ถูกต้อง บอกเล่าสิ่งต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ สามารถนำเสนอผลงานของตนเองได้ พูดเสียงดังชัดเจน ผลการประเมินมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.60 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.00 ซึ่งสูงกว่าก่อนและระหว่างจัดประสบการณ์ 3. พฤติกรรมกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย หลังจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย สูงขึ้นกว่าก่อนและระหว่างจัดประสบการณ์ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 13.30 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 88.67 ด้านที่กล้าแสดงออกมากที่สุดคือ การทำงาน เด็กปฐมวัยทำงานเต็มความสามารถของตน มีความมุ่งมั่นทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย กล้าปฏิเสธในเรื่องที่ตนไม่สามารถทำตามคำขอร้องของผู้อื่นได้โดยไม่วิตกกังวล ด้านที่กล้าแสดงออกน้อยที่สุดคือ การยอมรับคำวิจารณ์ ไม่รับผิดชอบต่อข้อบกพร่องของตนเอง ให้ข้อคิดหรือข้อวิจารณ์ผู้อื่นด้วยความวิตกกังวล

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กาญจนา ซ่องผม. (2555). ผลการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ระหว่างการใช้แนวคิดเรกจิโอ เอมีเลียและแนวคิดจอห์น ดิวอี้. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

กิรณา เกี่ยสกุล. (2552). คำพ่อสอนกับการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545). การเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน ; 3 – 5 ขวบ. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรสโปรดักส์.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ: แบรน เบส บุ๊ค.

ตรรกพร สุขเกษม. (2554). การพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออก โดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติของนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2/2554 ในบทเรียนเรื่อง “การกำหนดนโยบายสาธารณะ.” แพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำ แพงเพชร.

ประเทือง สุภาสอน. (2550). ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่มีต่อความสามารถทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปิยะพร กงไกร. (2544). วิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกโดยวิธีการแสดงบทบาทสมมติของนักเรียนระดับชั้น ปวช. 3/1 สาขาวิชาการขาย ในรายวิชาการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ. ขอนแก่น: วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น.

ภรณี คุรุรัตนะและคณะ. (2542). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (3 – 5 ปี): แนวคิดของกลุ่มนักศึกษา. กรุงเทพฯ: เซเวนพริ้นติ้งกรุ๊ป.

วลิญา ปรีชากุล. (2550). การใช้กิจกรรมศิลปะวาดภาพเพื่อสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนอนุบาล. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้ (Leaning Management). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2558). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2558, กาฬสินธุ์: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์.

สุจิตตรา สุดชารี. (2554). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมศิลปะตามแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัจฉริยะ ควรทิพย์. (2557). ฟังหนูหน่อย. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์จำกัด.