การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวังกระแสวิทยาคม จังหวัดนครพนม

Main Article Content

สุทธิดา เชื้อชาติ
บุญรอด ดอนประเพ็ง
สมสมร เรืองวรบูรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน กับเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน การเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนวังกระแสวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test (Dependent Samples)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวังกระแสวิทยาคม จังหวัดนครพนม ประสิทธิภาพ 83.09 / 81.01 2) ผลสัมฤทธิ์คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน การเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวังกระแสวิทยาคม จังหวัดนครพนม ค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียน สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวังกระแสวิทยาคม จังหวัดนครพนม อยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ธีรศักดิ์ โกรธกล้า .(2551). การจัดกจิกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL). โรงเรียนบ้านอำปึล (ปอเกีย– พลินอุทิศ 3) อำ เภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1.

พรพิไล เลิศวิชา . (2550). สมองเรียนรู้อย่างไร. กรุงเทพฯ: ศาลาแดง. รุ่ง แก้วแดง. (2549). ภาวะผู้นำทางวชิาการของผู้บริหารยุคปฏิรูปการศึกษา: ผู้บริหาร (การศึกษา) มืออาชีพ. กรุงเทพฯ: วี. ที. ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2541). กระบวนทัศน์ใหม่: การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

วิมล เหล่าเคน. (2552). ผลการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การสร้างคาตามหลักเกณฑ์ทาง ภาษาด้วยการจัดกิจกรรมตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุภรณ์ สภาพงศ์. 2545. การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด. วารสารวิชาการ, 5 (กันยายน),31-34.

อรวรรณ บุญสมปาน. (2551). การใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านคำศัพท์และความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัครภูมิ จารุภากร และพรวิไล เลิศวิชา. (2550). สมองเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันวิทยาการเรียนรู้.

อังสนา ศรีสวนแตง. (2555). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับเทคนิค KWDL. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัมพร ทองใบ และมาลี พันธุ์ประเสริฐ. (2555). หลักภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์.

อัญชลี เฟื่องชูชาติ. (2552). การส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อารี สัณหฉวี. (2550). ทฤษฎีการเรียนรู้ของสมองสำหรับ พ่อ แม่ ครูและผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: เบรน-เบส บุ๊ค จำกัด.

Fortner, Sandra Gail. (2005). Examining Pedagogical Practices through Brain-Based Learning in Multiple Intelligences Theory. Dissertation Abstracts international, 65(8): 2882-A ; February.

Hoge, Pamela Thomson. (2003). The Integration of Brain-Based Learning and Literacy Acquisition. Dissertation Abstract International, 63(11): 3884-A ; May.