การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT

Main Article Content

สุคนธ์ทิพย์ บัวชุม
นิราศ จันทรจิตร
สรร ธงยศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และ การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การใช้โปแกรม Microsoft PowerPoint (2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และ การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กับ การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเมืองนครพนมและโรงเรียนบ้านนามูลฮิ้น โรงเรียนละ 20 คน รวม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT แบบละ 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ มีค่าความยากระหว่าง 0.62 – 0.75 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26 – 0.49 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และ การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.90/ 86.75 และ 87.04/ 80.37 ตามลำดับ 2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีค่าเท่ากับ 0.74 และ 0.66 ตามลำดับ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กนกวรรณ ภูกองพลอย. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจในการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องธุรกิจในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบ CIPPA กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เบญจมาศ เทพบุตรดี. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และการจัดการเรียนรู้แบบปกติเรื่องการบวก ลบ คูณ หาร ทศนิยม. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.มหาสารคาม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิทักษ์ สวนดี. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อินเทอร์เน็ตและการสร้างเว็บเพจการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA) และการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL).วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เพชรศิริวรรณ อินธิสาร. (2552). การเปรียบเทียบผลการเรียน เรื่อง การสร้างผลงานด้วยทักษะคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนบนระบบเครือข่ายตามรูปแบบ 4 MAT กับการเรียนปกติ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.มหาสารคาม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เพ็ญศรี พิลาสันต์. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีปกติ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โรงเรียนเมืองนครพนม. (2554). แผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา. นครพนม.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำราญ บุญธรรม. (2550). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้การเขียนเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT). วิทยานิพนธ์ กศ.ม.มหาสารคาม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.