การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

Main Article Content

ศิริพร ศรีปัญญา
ธรินธร นามวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 3) พัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการเสริมสร้างสมรรถนะและวิธีการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ระยะที่ 3 พัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ การพัฒนาแนวทางโดยวิธีการสังเคราะห์ข้อมูลแนวคิดและทฤษฎี ข้อมูลสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์แนวทางเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษา และการศึกษาดูงานจากโรงเรียนที่ดำเนินการพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษาที่ปฏิบัติดีเลิศ และปรับปรุงแนวทางการพัฒนา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ 33 ตัวชี้วัด ดังนี้ 1) ด้านแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 ตัวชี้วัด 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 ตัวชี้วัด 3) ด้านสื่อการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 ตัวชี้วัด 4) ด้านบทบาทครู จำนวน 5 ตัวชี้วัด 5) ด้านประเมินผลการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 ตัวชี้วัด 2. สภาพปัจจุบัน การดำเนินการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ คัญของครูในสถานศึกษา สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมมีสภาพการปฏิบัติในปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง โดยสภาพการปฏิบัติในปัจจุบันที่มีผลรวมรายด้านมากที่สุด คือด้านบทบาทครู อยู่ในระดับปานกลาง และรายด้านน้อยที่สุดคือด้านแผนการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับปานกลาง การศึกษาสภาพการปฏิบัติที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษา โดยรวมมีสภาพการปฏิบัติที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก โดยสภาพการปฏิบัติที่พึงประสงค์ที่มีผลรวมรายด้านมากที่สุดคือด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก และรายด้านน้อยที่สุดคือด้านบทบาทครู อยู่ในระดับมาก 3. การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษา โดยการเชื่อมโยงองค์ประกอบ ตัวชี้วัดของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี แบบสอบถาม และจากการศึกษาโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อใช้ออกแบบแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษา โดยผ่านการตรวจสอบ และเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมี 5 องค์ประกอบ 33 ตัวชี้วัด ซึ่งพบว่า แนวทางแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษาที่มีผลรวมรายด้านมากที่สุดคือด้านสื่อการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุดรองลงมาคือด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านบทบาทครูอยู่ในระดับมาก ด้านแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่สุดที่สุดคือด้านการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

คงเดช ภาวงศ์. (2553). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านคาบิดโพนยาง. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชัชวาลย์ เจริญบุญ. (2554). รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนในจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธันวดี ศรีธาวิรัตน์. (2553). การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในวิชามลพิษสิ่งแวดล้อม, วารสารวิทยาศาสตร์. 11(12): 35-40, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

พรพนา บัวอินทร์. (2553). สภาพและแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัชราวดี ทองเนื่อง. (2553). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต่อความรู้และการพัฒนาผู้เรียนในรายวิชาพยาธิสรีรวิทยาสำหรับนักศึกษาพยาบาล, วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2(1): 73 ; มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

ณัชชา ศรีเศรษฐา. (2555). การศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

ปาณิสรา ปานที. (2553). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ โรงเรียนในอำเภอวัฒนานคร สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวัจน์ ศรีสวัสดิ์. (2556). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2552). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Confer, Carla S. (2001). Student Participation in a Process of Teacher Change: Toward Student-centred Teaching and Learning, Dissertation Abstracts International. 61(7): 2573 ; January.

Gills, Amy Renee Walson. (2000). Marking Special: Child-centered, Meaning and Artistically Authentic Early Childhood Art Education. Ed.D. University of Illinois at urbana-champing.

Moore, Frances Lynn. (2004). Perspective on the Critical Factors for Student Success in Developmental Education: Instructors and Student Speak, Dissertation Abstracts International. 65(3): 809-A ; September.

Schottelkorb, A. (2008). Effectiveness of Child-Centered Play Therapy and Person centered Teacher Consultation on ADHD Behavioral Problems of Elementary School Children: A Single Case Design, Dissertation Abstracts International. 69(2): 208-A ; August.

Watamura, Kathleen Patricia. (2001). Child-centered Learning Versus Direct Instruction in Mathematics in the Elementary Classroom, Masters Abstracts International. 39(5): 1279 ; October.