โปรแกรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้ง ได้แก่ กลุ่มแรก คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 ปีการศึกษา 2557 จากโรงเรียนจำนวน 182 โรงเรียน จำนวน 308 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan กลุ่มที่สอง ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จากโรงเรียน (Best Practices) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและจัดเรียงลำดับความคาดหวังโดย ใช้วิธี Modified Priority Needs Index (PNI Modified) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 พบว่า 1.1 สภาพปัจจุบันการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง รองลงมาคือ ด้านการใช้รูปแบบและเทคนิควิธีการสอนอย่างหลากหลาย และด้านการพัฒนาสื่อและนวัตกรรม 1.2 สภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงรองลงมาคือ ด้านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยผู้เรียน และด้านหลักสูตรและการบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้และด้านการใช้รูปแบบและเทคนิควิธีการสอนอย่างหลากหลาย 2. โปรแกรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 พบว่า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). รวมกฎหมายการศึกษา ฉบับเพื่อการปฏิบัติงานด้านกฎหมายการศึกษา. กรุงเทพฯ: คอมมิวเคชั่น.
ทิศนา แขมมณี และพิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2550). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. กรุงเทพฯ: บริษัท แอล. ที. เพรส จำกัด.
จำรัญ จิตรหลัง. (2552). “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้,” ใน วารสารวิชาการ. 12(3): 19-20 ; กรกฎาคม-กันยายน.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัท แอล.ที.เพรส จำกัด.
ยุรดา อรรถธนสาร. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ บรรยากาศองค์การ และคุณลักษณะของครูกับการจัดการความรู้ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพฯ. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 6(11): 40 ; กรกฎาคม-ธันวาคม.
ยอดอนงค์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นิชาภา พราวศรี. (2551). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: Transformative Learning. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วิทยา จันทร์ศิริ. (2551). การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา. (2458). การจัดการความรู้ในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. (2550). การวิจัยตามภาวการณ์ครูรายจังหวัด (Teacher Watch) และการสร้างตัวแบการพัฒนาครูที่สนองตอบสภาวการณ์และปัญหาในการทำงานของครู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). จากจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียน...สู่ชั้นเรียนการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). วารสารวิชาการ. ฉบับที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว,
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สุปรียา ศิริพัฒนกุลขจร. (2548). การพัฒนารูปแบบห้องเรียนเสมือนจริงแบบจำลองสถานการณ์ร่วมกับการฝึกปฏิบัติเรื่องการผลิตรายการโทรทัศน์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุรเชษฐ์ สร้อยสวิง. (2552). ความต้องการและแนวทางการพัฒนาครู โรงเรียนฝายกวางวิทยาคม อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. (2556). รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2556: นิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. นครราชสีมา.
อาภรณ์ภู่ วิทยพันธุ์. (2551). สมรรถนะครูกับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสาธิตในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ คม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.