แนวทางการพัฒนาการสร้างทีมครู สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการสร้างทีมครู สำหรับสถานศึกษา 2)ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการสร้างทีมครู สำหรับสถานศึกษา 3) พัฒนาแนวทางการสร้างทีมครู สำหรับสถานศึกษา เป็นการวิจัยและพัฒนามีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ตามความมุ่งหมายของการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 จำนวน 375 คน โดยการเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดกับตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan และใช้เทคนิคการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้
1. องค์ประกอบการสร้างทีมครู สำหรับสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้องค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ คือ 1) บทบาทที่สมดุล 2) วัตถุประสงค์เป้าหมายที่เห็นพ้องต้องกัน 3) การติดต่อสื่อสารที่ เปิดเผยเพื่อสร้างบรรยากาศแก้ปัญหา 4) ความร่วมมือในการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ 5) กระบวนการทำงานการตัดสินใจที่ถูกต้องของผู้นำ 6) ความสัมพันธ์ระหว่างทีม และ 7) การทบทวนประเมินผลงานอย่างสม่ำเสมอและมีกระบวนการสร้างทีม 5 กระบวนการ ได้แก่ 1) การรับรู้ปัญหา 2) การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 3) การวางแผนปฏิบัติการ 4) การนำแผนไปปฏิบัติ และ 5) การประเมินผลลัพธ์จากการดำเนินงาน 2. สภาพปัจจุบันการสร้างทีมครู สำหรับสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านวัตถุประสงค์เป้าหมายที่เห็นพ้องต้องกัน รองลงมา คือ กระบวนการทำงานการตัดสินใจที่ถูกต้องของผู้นำและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การติดต่อสื่อสารที่เปิดเผยเพื่อสร้างบรรยากาศแก้ปัญหา ผลการศึกษาสภาพที่พึงประสงค์การสร้างทีมครู สำหรับสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การติดต่อสื่อสารที่เปิดเผยเพื่อสร้างบรรยากาศแก้ปัญหา รองลงมา คือ การทบทวนประเมินผลงานอย่างสม่ำเสมอ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความร่วมมือในการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ 3. แนวทางพัฒนาการสร้างทีมครู สำหรับสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน
Downloads
Article Details
References
กิตติกรณ์ ไชยสาร. (2557). การสร้างทีมงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ.
เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง. (2544). การจัดการและการพัฒนาองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24, สำนักงาน. (2558). แผนปฏิบัติการ ปี 2528. กาฬสินธุ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24.
จินดาพร นพนิยม. (2555). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอตาพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม, มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
จิราภรณ์ เอมเอี่ยม. (2552). การพัฒนารูปแบบการสร้างทีมงานครูในสถานศึกษาระดับ มัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ด, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
จำนงค์ ศิลารินทร์. (2550). สภาพและปัญหาการสร้างทีมงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี.
เทพินทร์ จารุศุกร. (2554). แนวทางและวิธีการในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ กศ.ม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์. (2549). การบริหารงานงบประมาณ หลักทฤษฎีและวิเคราะห์เชิงปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: หจก.เอมเทรดดิ้ง.
วรรณวิมล อัมรินทร์นุเคราะห์. (2551). การบริหารงานพัสดุ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการบริหารทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
สันติ บุญภิรมย์. (2552). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.
สุนันทา เลาหนันท์. (2540). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ: ดี. ดี บุ๊คสโตร์.
สุภาพ กันสการ. (2552). พฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอโคกสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม, มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
สุรศักดิ์ ศรณรินทร์. (2546). การสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามทรรศนะของผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์กศ.ม, มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
โสภณ หลอดแก้ว. (2555). การสร้างทีมงานของครูโรงเรียนเทศบาล 1 (สภาวร) สังกัดเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม, มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2538). การบริหารทักษะและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.
PlunKett, Warren R. (1994). Management. 5th ed. Belmont, Ca.: Wadsworth Publishing Co.
Porras, Jerryl. (1992). “Organization Development: Theory, Practice and Research,” Dunnette Marvin E., eds. Handbook of Industrial and Organizational Psychology. 2nd ed. 3(5): 25-30 ; November.
Vaill, Peter B. (1989). Seven Process Frontiers for Organization Development. The Emerging Practice of Organization Development. Sikes, Walter eds. La Jolla, Ca.