การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาด้านวิชาการ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและและสภาพที่พึงประสงค์ แนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการจัดการศึกษาด้านวิชาการ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (2) สร้างแนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการจัดการศึกษาด้านวิชาการ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มแรก คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 6 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 8 โรงเรียน โรงเรียนละ 15 คนจำนวน 120 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มที่สอง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 คน (Best Practice) จำนวน 3 โรงเรียนๆ ละ 1 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและจัดเรียงลำ ดับความคาดหวังโดย ใช้วิธี Modified Priority Needs Index (PNI Modified)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. สภาพปัจจุบันการพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาด้านวิชาการ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาโดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาด้านวิชาการ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 2. แนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาด้านวิชาการสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีแนวทางการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน จำนวน 15 ข้อ 2) ด้านการพัฒนา/ส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ จำนวน 12 ข้อ และ3) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ จำนวน 21 ข้อ
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กัมพล กมลวิลัย. (2554). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
เกื้อหทัย กาชัย. (2556). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขนาดกลางในพื้นที่พิเศษ อำเภอแม่สรวย สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
เฉลิมพร มณีกุล. (2553). สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาและศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในอำเภอฝาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
เดชา พวงงาม. (2554). พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
วัฒนา มีพร้อม. (2554). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านตลาดพัฒนา อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วาสนา ยาวิชัย. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมชองชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนบางปะผ้าพิทยาสรรค์. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ศรีวรรณ เกียรติสุรนนท์. (2554). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์กรเอกชน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับธุรกิจและเศรษฐกิจ) ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค.2554) หน้า 225-235.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). คู่มือการสรรหาคัดเลือกคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศาสนาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
อุทัยทิพย์ จันตะวงษ์. (2555). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม.. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
Sanders, Guanyu Greg. (1993). Relationships among External Environment, School System Variables, and Student Achievement. New York: University of Victories (Canada).