การพัฒนาสมรรถนะในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วิธีการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและประเมินสมรรถนะในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ให้ผู้บริหารจำนวน 60 รูป และผู้ใต้บังคับบัญชา โรงเรียนละ 2 ท่าน จำนวน 120 ท่าน จากโรงเรียนตัวอย่าง 60 โรงเรียน ผู้วิจัยใช้การเลือกโรงเรียนแบบสุ่มด้วยตารางเลขสุ่ม จากโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาทั่วประเทศ 408 โรงเรียน เพื่อประเมินสมรรถนะในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 25 ท่าน ที่เลือกมาแบบเจาะจง เพื่อรับทราบผลการประเมินสมรรถนะในการบริหารงานของผู้บริหารที่ได้จากผลการวิจัยตามขั้นตอนที่ 1 และเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาสมรรถนะในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จำนวน 12 รูป ด้วยการเลือกแบบเจาะจง จากโรงเรียนส่วนมากที่ไม่ผ่านการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อทำการพัฒนาสมรรถนะในการบริหารงานด้วยวิธีการอบรมเชิงปฏิบัติการจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา มีหลักสูตรและเอกสารการอบรม
ผลการวิจัยพบว่า1. ผู้บริหารมีสมรรถนะทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะส่วนบุคคล สมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงานอยู่ในระดับดีถึงดีมาก แต่มีข้อสังเกตว่าผลการประเมินค่อนข้างมาอยู่ในระดับพอใช้ ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 25 ท่านที่ยอมรับผลการวิจัยและเสนอให้พัฒนาสมรรถนะในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ทั้ง 3 ด้านคือ 1) สมรรถนะส่วนบุคคล ได้แก่ การมีวินัย การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม มีความรักความศรัทธาในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบในวิชาชีพ 2) สมรรถนะหลัก ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีม 3) สมรรถนะประจำสายงาน ได้แก่ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัย การสื่อสารและการจูงใจ การพัฒนาศักยภาพบุคคล การบริหารองค์การ การมีวิสัยทัศน์ ความคิดรวบยอดและการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ ก่อนการอบรม ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้ประเมินตนเองก่อนการอบรมว่า มีสมรรถนะ ทั้ง 3 ด้านประกอบด้วย 1) สมรรถนะส่วนบุคคลอยู่ในระดับพอใช้ 2) สมรรถนะหลักอยู่ในระดับพอใช้ 3) สมรรถนะประจำสายงานอยู่ในระดับพอใช้ถึงน้อยภายหลังผู้บริหารผ่านการอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะแล้วได้ประเมินสมรรถนะในการบริหารงานของตนเอง พบว่า ผู้บริหารมีสมรรถนะทั้ง 3 ด้าน คือ 1) สมรรถนะส่วนบุคคล ได้แก่การมีวินัย การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ความรับผิดชอบในวิชาชีพอยู่ในระดับดีมาก 2) สมรรถนะหลัก ได้แก่การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การพัฒนาตนเองและการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับดีถึงดีมาก 3) สมรรถนะประจำสายงาน ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการวิจัย การสื่อสารและการจูงใจ การพัฒนาศักยภาพส่วนบุคคล การบริหารองค์การ การมีวิสัยทัศน์ความคิดรวบยอด การคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ อยู่ในระดับดีถึงดีมากทั้ง 3 สมรรถนะนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = .01
2. เมื่อผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลับไปปฏิบัติงานจริงในโรงเรียนของตนเอง เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ได้ประเมินสมรรถนะของตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชาประเมินสมรรถนะของผู้บริหาร พบว่า มีสมรรถนะทั้ง 3 ด้านดังกล่าวอยู่ในระดับดีถึงดีมาก สูงขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = .01
Downloads
Article Details
References
Department of Religious Affairs. (2001). Report on Problems / Barriers of the Buddhist Ecclesiastic High School Administration, Department of Education. Bangkok: Department Affairs Printing.
Krongthip Nakawichetara. (2009). Leadership Competency of the Basic Education School’s Administration in Nakhon Ratchasima Province. Faculty of Education. Vongchavalitkul Univercity.
Mangnuson, Watter G. (October, 1971). “The Characteristics of Successful School Business Managers.” Dissertation Abstracts International. 38 (01): 32-A.
Ministry of Education. (2003). Ministry of Education Administration Act 2003. Bangkok: Ministry of Education. National Institute for Development of Teachers, Faculty Staffs and Educational Personnels, Office of the
Permanent Secretary Ministry of Education. (2009). Report on the Creation of the Teachers, Faculty Staffs and Educational Personnels Performance Evaluation Form, Integration Issue. No Publisher.
Pramaha Chamroen Pakarapho. (2000). The performance of the Buddhist Ecclesiastic High School, Department of Education, in Khon Kaen Province. Independent Study, Master of Education in Education Administration. Mahasarakham: Graduate School, Mahasarakham University.
Pamaha Tharaboon Kujinda. (2010). School – Based Problems and Solutions of the Buddhist Ecclesiastic High School Administration, Department of Education. (Online). Retrieved on July 25,2010 form http://learners.in.th/ blog/yanavarut/258316.
Prasombun Wila. (2001). Administrative Problems of the Buddhist Ecclesiastic High School, Depratment of Edcation, Nakhon Phanom Province. Independent Study, Master of Education in Education Administration. Masarakham: Graduate School, Mahasarakham University.
Surawut Yanyalaksana. (2007). Competency Development to Enhance the Organizational Effectiveness of Teachers and Educational Personnels in Basic Educational Institutions. Dissertation, Doctor of Education in Educational Administration. Bangkok: Graduate School, Kasetsart University.
The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). (2010). Executive Summary. (Online). Retrieved on September 5, 2010 form http://www.noesqa.or.th/onesqa/th/index.php
Uthai Koomlek. (2006). Opinions of School Personnels on the Development of the Buddhist Ecclesiastic High School, Department of Education, in Chiang Mai Education Area 1. Dessertation, Master of Arts in Development Strategy. Chiang Mai: Graduate School, Chiang Mai Rajabhat University.