การเปรียบเทียบเจตคติต่อการมีความสัมพันธ์ชู้สาวในวัยเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีลักษณะทางชีวสังคมและจิตลักษณะแตกต่างกัน

Main Article Content

ภารดี ทองอุทุม
พัฒนานุสรณ์ สถาพรวงศ์
รังสรรค์ โฉมยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการมีความสัมพันธ์ชู้สาวในวัยเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการมีความสัมพันธ์ชู้สาวในวัยเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีลักษณะทางชีวสังคมต่างกันและ 3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการมีความสัมพันธ์ชู้สาวในวัยเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีจิตลักษณะต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2554 จำนวน 396 คน จาก 13 คณะ โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบวัดชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ ประกอบด้วยแบบวัดลักษณะทางชีวสังคมและเจตคติ แบ่งเป็น 4 ด้าน รวม 65ข้อ และแบบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม จำนวน 1 ฉบับ 12 ข้อ แบบวัดทั้งหมดมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.88ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.72 ถึง 0.84 ตามลำดับสถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-way ANOVA) และสามทาง (Three-way ANOVA) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 


1. นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยภาพรวมมีเจตคติยอมรับการมีความสัมพันธ์ชู้สาวในวัยเรียนในระดับปานกลาง


2. ลักษณะทางชีวสังคมที่มีปฏิสัมพันธ์กับเจตคติต่อการมีความสัมพันธ์ชู้สาวในวัยเรียนคือ เพศ ชั้นปี และการอบรมเลี้ยงดู พบว่า นิสิตที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแตกต่างกันมีเจตคติต่อการมีความสัมพันธ์ชู้สาวในวัยเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนการจำแนกตามเพศ และชั้นปีไม่มีความแตกต่างกัน และไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู เพศ และชั้นปี


3. จิตลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์กับเจตคติต่อการมีความสัมพันธ์ชู้สาวในวัยเรียน คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และเหตุผลเชิงจริยธรรม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และเหตุผลเชิงจริยธรรมต่างกัน มีเจตคติต่อการมีความสัมพันธ์ชู้สาวในวัยเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ และพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และเหตุผลเชิงจริยธรรมที่มีผลต่อเจตคติต่อการมีความสัมพันธ์ชู้สาวในวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Benjamaporn Choychreu. (2543). Psychosocial factors related to attitude toward teaching profession and achievement behavior of students under Faculty of Education, Khon kaen University. M.Ed. Thesis, Khon Kaen University, Khon kaen.

Choradawan Koatnarin. (2545). A comparison of attitudes toward sexual relationships with the opposite sex of high education students under Muang district, KhonKaen province. M.Ed.Thesis, Mahasarakham University, Maha Sarakham.

Decho Sawananon. (2535). Introducation to Psychology. Bangkok: Odean Store.

Juthathip Chatsuwan. (2548). The relations among teaching qualification, language aptitude and attitude toward English subject of Prathomsuksa 6 students under Office of Education Area Chaiyaphoom Area 2. M.Ed.Thesis, Mahasarakham University, Maha Sarakham.

Korakoch Wichai. (2551). Developing moral reason test on responsibility, kindness, and justice of school teachers under Office of Education Area Phayao Area1. M.Ed.Thesis, Srinakharinwirote University, Bangkok.

Luan Saiyot and Angkhana Saiyot. (2543). Techniques of learning evaluation. 2nded. Bangkok: Suweeriyasan.

Manop Sawamichai. (2539). Introducation to psychology. Bangkok: Archan Nimirt Jiwasantikarn Academic Center.

Patcha Pinthadis. (2546). Personal factor, motive achievement, motivation and making decision behavior over medium and small businesses performance of unemployed educated people in Chiengmai. M.Sc. Thesis, Chiengmai University, Chiengmai.

Patcharin Saeri. (2544). 16 personal factors and nurture and drug abused of Adolescents. M.Ed.Thesis, Srinakharinwirote University, Bangkok.

Pei-Chen Lou. (2010). “High school students exposure to premarital sex and attitudes and vice network-a case study of southwest region,” NHU E Thesis. etd-0704111-234647 Master’s Thesis, Nanhua University, Taiwan.

Sak Suntharasaenee. (2531). Attitude. Bangkok: Rungwattana. Suchat Soamprayoon and Wannee Soamprayoon. (2541). Sex education. 4th ed.Bangkok: Thaiwattanapanich.

Thada Leekasaem. (2545). Attitude toward sex relationship before marriage through high educational students in Maha Sarakham province. M.Ed. Thesis, Mahasarakham University, Maha Sarakham.

Wanlop Piyamanotham. (2544). Problems released over teenaged children under12-21 years. Bangkok: C. Education.

Winadda Piyasil. (2539). Handbook for parents: Teenagers. Bangkok: ChaichareonPrinting Press.