รูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคอีสานตอนล่าง

Main Article Content

จิตรลดา ซิวดอน
วิชัย วงษ์ใหญ่
จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์
สงวนพงศ์ ชวนชม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างรูปแบบ และ (2) ตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคอีสานตอนล่าง โดยดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับทรัพยากรทางการศึกษา การระดมทรัพยากรทางการศึกษาใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคคล ด้านการเงิน ด้านแหล่งเรียนรู้ และด้านวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีการศึกษา สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูที่รับผิดชอบงานระดมทรัพยากรการศึกษา สถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคอีสานตอนล่าง แล้วนำมาบูรณาการกำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย (2) การสร้างรูปแบบ (3) การตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ โดยการจัดกลุ่มสนทนา ครั้งที่ 1 เพื่อให้ความคิดเห็นและเสนอแนะต่อร่างรูปแบบ (4) การปรับปรุงรูปแบบตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ (5) การตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูที่รับผิดชอบงานระดมทรัพยากร การศึกษา สถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคอีสานตอนล่างจำนวน 544 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ (6) การตรวจสอบยืนยันรูปแบบโดยการจัดกลุ่มสนทนา ครั้งที่ 2


ผลการวิจัยพบว่า1. ได้รูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคอีสานตอนล่าง ครอบคลุม (1) ด้านบุคคล มีแนวทางการปฏิบัติ คือ มีการพัฒนาคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา ครูและนักเรียน การประชาสัมพันธ์ผลงานสถานศึกษา การสร้างจิตอาสา การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถานศึกษาเครือข่าย การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมจัดการศึกษา (2) ด้านการเงิน มีแนวทางการปฏิบัติ คือการจัดทำแผนการระดมทรัพยากรด้านการเงินโดยเน้นการมีส่วนร่วม การสร้างผลงานของสถานศึกษาให้เป็นที่ศรัทธาแก่ผู้ปกครอง ชุมชนและสาธารณชน การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน การจัดระบบงานบริหารงบประมาณที่โปร่งใส (3) ด้านแหล่งเรียนรู้ มีแนวทางการปฏิบัติ คือ การวางแผนร่วมกับชุมชนในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในสถานศึกษา การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน การจัดทำข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและชุมชน การพัฒนา อนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและชุมชนโดยเน้นการมีส่วนร่วม การส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในการใช้แหล่งเรียนรู้ และ (4) ด้านวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีการศึกษา มีแนวทางการปฏิบัติคือ มีการจัดทำแผนงาน โครงการ กิจกรรมโดยระบุความต้องการวัสดุอุปกรณ์ การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา การให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการบริหารด้านวัสดุอุปกรณ์ การขอรับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ จากองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน เป็นต้น


2. การตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคอีสานตอนล่างพบว่า รูปแบบมีประสิทธิภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Attakamanon, Pirat and Chokvarawattanakorn, Mattana. (2005). An Administrators’Training: A Community and Local Educational Enhancing for Educational Revolution ,2nd Edition. Bangkok: Chutthong Printing.

Bangmo, Somkid. (2009). Training and Conference Techniques. Bangkok: Vittayapat Printing.

Foundation of Distance Satellite. (2006). A Guideline for the Distanced Satellite Education. Bangkok: Ammarin Printing and Publication.

Kampeerapakorn, Preecha. (2002). “ Idea of Educational Resource Management,” in Resource Educational Management Unit 1-8. Nontha Buri: Sukhothaithammathirat Open University.

Kampeerapakorn, Preecha and Others. (2002). “Educational Material Management,” in Educational Material Management Unit 9-15. Nontha Buri: Sukhothaithammathirat Open University.

Kongthiang, Somsak. (2009). “Educational Resource ” in Teacher Professional Encyclopedia for the King’ s 80th Birthday Anniversary. Bangkok: The Teacher’Council of Thailand..

Ministry of Education. (2010). A Research Report on The Follow-Up for Evaluation of Educational Upgrading Based upon Educational Expenditure Per Capita of Basic Educational Students. Bangkok: Thailand Co-operative Printing.

Naowanon, Adisorn. (2009). Curriculum and Basic Education Managemnent. Nakhon Ratchasia: Faculty of Education, Nakhon Ragchasima Rajabhat University.

Office for National Education Standards and Quality Assessments (Public Organization). (2547). Education Act B.E. 2542 (1999) and Amendment (Second National Education Act B.E. 2545 (2002). Bangkok: Chutthong Printing.

Office of the Basic Education Commission. (2011). Holistic Educational Operation of Small Schools for the Second Decade Educational Revolution. Bangkok: Bureau of Policy and Basic Plan.

Office of the Basic Education Commission. (2007). A Guideline for Project Management for Upgrading Small Schools. Bangkok: Bureau of Policy and Basic Plan.

Office of the Basic Education Commission. (2009). Strategic Plan for Small School Development B.E. 2551-2553 (2009-2010). Bangkok: Bureau of Policy and Basic Plan.

Office of National Elementary Education. (2007). Learning Resource within Schools and Community. Bangkok: Religious Affairs Printing.

Ramkhamhaeng University. (2005). Seminar Papers on Educational Administration. Bangkok: Faculty of Education, Ramkhamhaeng University.

Rakwichitkul, Nareerat. (2006). Coures Handout Fund Raising for Schools. Mahasarakam: Faculty of Education, Mahasarakam University.

Sinthukhet, Penchan. (2011). Interviewed by Jitlada Sewdon at Nong E-lor School under the Office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area 3 on July 26, 2011

Tapsuwan, Suda. (2009). Handouts of Educational Seminar. Nakhon Ratchasima: Faculty of Education, Vongchavalitkul University.

Visalaporn, Sermsak. (1998). “From Ramayana to Evaluation,” in Journal of Education of Srinakharinwirot University, 11 (1): 11.