พฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนนักเรียนออทิสติก ศูนย์การเรียนสำหรับบุคคลออทิสติก โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการสอนด้านการเตรียมการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการประเมินผล ของครูผู้สอนนักเรียนออทิสติก ศูนย์การเรียนสำหรับบุคคลออทิสติก โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนนักเรียนออทิสติก จำนวน 5 คน ของศูนย์การเรียนสำหรับบุคคลออทิสติก โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการสอนด้านการเตรียมการสอนของครูผู้สอนนักเรียนออทิสติก พบว่า ในการเตรียมการสอนครูผู้สอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้ คือ การวิเคราะห์หลักสูตร การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล การเตรียมแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP การเตรียมแผนการสอนเฉพาะบุคคล IIP และการเตรียมสื่อการสอน 2. พฤติกรรมการสอนด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนออทิสติก พบว่า ในการจัดการเรียนการสอนครูผู้สอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้ คือ ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นการสอนโดยสอนเป็นรายบุคคลและตามระดับความสามารถ สอนจากง่ายไปยากใกล้ตัวไปไกลตัว สอนให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง สอนโดยใช้หลัก 3R’s และสอนโดยการกระตุ้นเตือนขั้นฝึกฝนด้วยการสอนย้ำและขั้นสรุปด้วยการสอนทวน 3. พฤติกรรมการสอนด้านการประเมินผลของครูผู้สอนนักเรียนออทิสติก พบว่า ในการประเมินผลครูผู้สอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้ คือ การประเมินผลโดยการสังเกตรายบุคคลและการประเมินผลจากผลงานรายบุคคล
Downloads
Article Details
References
กาฬสินธุ์ปัญญานุกูล, โรงเรียน. (2553). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล. กาฬสินธุ์: ฝ่ายวิชาการ.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
จันทร์เพ็ญ ภูโสภา. (2558). จิตวิทยาและการแนะแนวสำหรับครู. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
จินดา ทับจีน. (2546). พฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ชูศักดิ์ จันทยานนท์. (2552). รูปแบบการจัดศูนย์การเรียนสำหรับบุคคลออทิสติก. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.
บริหารงานการศึกษาพิเศษ, สำนัก. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กําหนดประเภท และหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ปริญญา วรรณวงค์. (2550). การพัฒนากิจกรรมการฝึกทักษะทางภาษาและการสื่อสาร โดย ใช้เทคนิคการสอนแบบเพ็คส์ (PECS Technique) และทีชโปรแกรม (TEACCH Program) สำหรับเด็กออทิสติกระดับก่อนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, กรุงเทพฯ.
ไพศาล วรคำ. (2558). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), สำนักงาน. (2555). รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบ 3 (พ.ศ. 2554-2558). กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
ราชานุกุล, สถาบัน. (2555). เด็กออทิสติก คู่มือสำหรับครู. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิชชิ่ง.
เลขาธิการคุรุสภา, สำนักงาน. (2555). รายงานการวิจัย เรื่อง มาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โบนัส พรีเพรส จำกัด.
สุภาพร ชินชัย. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการ พิเศษ: กรณีศึกษาโรงเรียนเรียนรวมใน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ วท.ด., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
สมนึก ภัททิยธนี. (2558). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). เอกสารประกอบการสอน วิชา 1043408 การวิจัยทางการศึกษา.