การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาการพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะด้านวิชาการของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนาสมรรถนะทางวิชาการของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีการวิจัย มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสมรรถนะทางวิชาการพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2554 จำนวน 60 รูป จาก 60 โรงเรียนใช้วิธีการเลือกโรงเรียนให้เป็นสัดส่วนกับจำ นวนนักเรียนแต่ละโรงเรียน จำนวน 1,543 โรงเรียน จาก 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ขั้นตอนที่ 2 เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 25 รูป/ท่าน ที่เลือกมาแบบเจาะจง มารับทราบผลการประเมินสมรรถนะทางวิชาการพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้จากผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 และเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติม และขั้นตอนที่ 3 พัฒนาสมรรถนะทางวิชาการพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 16 รูป เลือกมาแบบเจาะจง เพื่อนำมาพัฒนาสมรรถนะทางวิชาการ วิธีการพัฒนาด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ
ผลจากการวิจัย พบว่า 1) ความประพฤติ วินัย คุณธรรมจริยธรรม ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา อยู่ในระดับดีมาก สมรรถนะหลัก อยู่ในระดับดี สมรรถนะประจำสายงาน อยู่ในระดับดีค่อนข้างมาทางปานกลาง และความรู้พื้นฐานวิชาชีพครู อยู่ในระดับดีค่อนข้างมาทางปานกลาง จึงต้องพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 6 ด้าน ที่ผลการวิจัย อยู่ในระดับดีค่อนข้างปานกลาง และตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 25 ท่าน ที่ยอมรับผลการวิจัยและ เสนอให้รีบพัฒนาพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาเป็นการเร่งด่วน ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการเรียนรู้ 2) ด้านการพัฒนาผู้เรียน 3) ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน 4) ด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัย 5)ด้านความรู้ปรัชญาการศึกษา 6) ด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ใน 6 ด้าน ดังกล่าวนี้ครอบคลุมเกี่ยวกับเนื้อหาสาระเรื่อง 1) การจัดทำแผนการสอนที่มีคุณภาพ 2) การเตรียม การสอนที่มีคุณภาพ 3) การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ 4) การพัฒนาผู้เรียน และการใช้สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีคุณภาพ 5) การสร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ซึ่งทั้ง 5 ด้านดังกล่าวนี้จะครอบคลุมสมรรถนะทางวิชาการพระสอนศีลธรรมทั้ง 6 ด้านดังกล่าวแล้ว
2) ผลจากการทดสอบก่อนการอบรมหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาการพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้คะแนนโดยเฉลี่ย 15.00 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม หลังการอบรมได้ค่าเฉลี่ย 26.25 คิดเป็นร้อยละ 88 ของคะแนนเต็ม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = .01 และได้ประเมินความคิดเห็นของตนเองว่า มีความรู้ ความเข้าใจและการนำไปใช้ในเรื่องที่เข้ารับการอบรมตามโครงสร้างหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะทางวิชาการของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ครูพี่เลี้ยงได้ประเมินการสอนของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานว่ามีสมรรถนะทางวิชาการจากการฝึกปฏิบัติสอนจริง ภายหลังการฝึกอบรม ดังนี้ 1) มีแผนการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ อยู่ในระดับดีมาก 2) มีการเตรียมการสอนมีคุณภาพ อยู่ในระดับดีมาก 3) มีการจัดการเรียนการสอนมีคุณภาพ อยู่ในระดับดีมาก 4) มีการพัฒนาผู้เรียน และการใช้สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนมีคุณภาพ อยู่ในระดับดี และ5) เครื่องมือวัดผลการเรียนการสอนมีคุณภาพ อยู่ในระดับดี
Downloads
Article Details
References
Chantranee Sa-nguannam. (2001). Educational Personnel Training. Bangkok: Sri-anan Printing.
Office of National Buddhism. (2003). Report on Social Situation. Bangkok: The Office of National Economic and Social Development Board.
Office of National Education Commission. (2002). Leadership Competency for Teachers. (online). Retrieved on April 9, 2010, from Phra Dhammapitaka (Prayudh Payutto). (1994). The Significance of Buddhism as A National Religion of Thailand. 7th Edition. Bangkok: Sahadhammika.
Phramaha Somsak Sriboriboon. (2008). The Study of Guidelines for the Improvement of Teaching Competency of Monks Teaching Morals in Secondary Schools under the Office of the Basic Education Commission in Bangkok Metropolitan Area. Master of Education Thesis. Education Administration Program. Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.
Phrathai.net, Thai Monk Internet Community. (2549). Buddhism News Center. (online). Retrieved September 8, 2006, from http://www.phrathai. net/news/detail.php?catid=6&groupid=0&ID=3135.
Religious Affairs Department. (2005 A). Operational Manual for the Project of Monks Teaching Morals in Schools. Bangkok: The Express Transportation Organization of Thailand Printing House.
Religious Affairs Department. (2005 B). Summary Report on the Overall Operation of the Project of Monks Teaching Morals in Schools in the Fiscal Year 2005. Bangkok: Moral and Ethical Promotion Bureau, Religious Affairs Department.
Sawat Mee-ob et al. (2001). The Study of Problems in the Administration of the Dhamma Section in the Phrapariyattidhamma School in Kamphaeng Phet Province. Kamphaeng Phet: Pimlak.
Worapong Boonpan. (2001). Problems in Ethics Teaching and Learning of Primary 5-6 in Schools under Chiang Mai Municipality. Master Thesis. Faculty of Buddhism. Chiang Mai: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Feldman, Susan. (January 1998). “Advances in Digital Library 1998.” Information Today. 16 (6): 17-24.