การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนขนาดเล็ก มีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้ ประชากร คือโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 120 คน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2554 กลุ่มตัวอย่าง คือโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 โรงเรียนที่มีบุคลากรประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 14 คน ครูจำนวน 61 คน รวม 75 คน ที่เลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียนขนาดเล็กอำเภอขามสะแกแสงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันมาร่วมกันพัฒนาวิธีการพัฒนา มุ่งพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน แรงจูงใจใฝ่รู้ของครู และเจตคติที่ดีของครูที่มีต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนซึ่งเป็นตัวแปรต้นที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์การแห่งการแห่งการเรียนรู้การจัดการความรู้ ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน การเขียนบทความทางวิชาการ การทำวิจัยในชั้นเรียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากบุคคลต่างๆ ได้มีการนำเสนอผลการวิจัยในชั้นเรียน การเสนอบทความทางวิชาการ ระดมความคิดเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ก่อนและหลังการพัฒนาดำเนินการ 1) วัดระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน 2) วัดระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน 3) วัดระดับแรงจูงใจใฝ่รู้ของผู้อำนวยการโรงเรียนและของครู 4) วัดระดับเจตคติของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูที่มีต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน และ 5) ภายหลังการพัฒนา สอบถามความพึงพอใจของผู้อำนวยการโรงเรียนและของครูต่อการอบรมเชิงปฏิบัติ
การ ใช้ Sign Test ทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนา
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบในการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เกิดจากความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน แรงจูงใจใฝ่รู้ของครู และเจตคติที่ดีของครูที่มีต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จึงต้องพัฒนาตัวแปรทั้ง 3 นั้นด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูมีความรู้ความเข้าใจ ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การจัดการความรู้ ความเป็นผู้นำทางวิชาการ การเขียนบทความทางวิชาการ การทำวิจัยในชั้นเรียนด้วยการพัฒนาดังกล่าวนี้จึงปรากฏผลว่า
1. ภายหลังการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนขนาดเล็กมีระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = .01
2. ภายหลังที่ผู้อำนวยการโรงเรียนขนาดเล็กได้รับการพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาการ ระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = .01
3. ภายหลังที่ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูได้เรียนรู้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การวิจัยในชั้นเรียน การเขียนบทความทางวิชาการ ระดับแรงจูงใจใฝ่รู้ของผู้อำนวยการโรงเรียนและของครูโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = .01
4. ภายหลังที่ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูได้เรียนรู้ ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้การจัดการความรู้ ระดับเจตคติที่ดีที่มีต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้อำนวยการโรงเรียนและของครูโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = .01
Downloads
Article Details
References
Marquardt, Micheal J . (2002). Building The Learning Organization:Mastering the 5 Elements for Corporate Learning. California: Davies Black.
National Economic and Social Development Bureau. (2002). The ninth National Economic and Social Development Plan (2002 – 2006). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board.
Office of the Basic Education Commission. (2006). Assessment Report on Small-sized School Quality Upgrading Project. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Printing.
Pote Sapianchai. (2003). Educational Institution Administrators and Researches to Create Learning Organization. 2nd Edition. Bangkok: Prikwan Graphic.
Samrerng Boonruangrutana, Pakorn Prajanban and Somsak Chansungnoen. (2010). “The Motivation of Teachers’ Inquisitive Mind as well as their Attitudes towards a School’s being a Learning Organization which affect the Academic Leadership of a School Administrator.” Vongchavalitkul University Academic Journal. (1):1-9.
Senge, Peter M. (2000). The Fifth Discipline: The Art And Practice Of The Learning Organization. London: Century.
Somkid Sroinam. (2004). The Development of the Learning Organization Model in the Secondary Schools. Thesis, Doctor of Philosophy in Education. Khon Kaen: Graduate School, Khon Kaen University.
Somsak Chansungnoen. (2009). Variables Affecting Levels of Learning Organization in Schools. Thesis, Doctor of Philosophy in Education. Nakhon Ratchasima: Faculty of Education, Vongchavalitkul University.
Sujit Hemwal. (2008). Influences of a Learning Organization on Educational Results of Basic Education Schools. Thesis, Doctor of Philosophy in Education. Nakhon Ratchasima: Faculty of Education, Vongchavalitkul University.
Suthiwan Pirasaksopon. (2002). Nonparametric Statistics. 3rd Edition. Mahasarakham: Apichart Printing.
Thongchai Somboon. (2006). Human Resource Development in an Organization. Bangkok: Pratsiam.
Vicharn Panich. (2004). Schools with Quality and Creativity. Bangkok: Pimdee.
Wirot Sanrattana. (2002). Schools: Learning Organization. 4th Edition. Bangkok: Aksarapipat.