ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของครู 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูกับความสุขในการทำงานและเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 92 คน ครูผู้สอน จำนวน 331 คน ได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูเท่ากับ 0.96 และความสุขในการทำงานเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ วิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสุขในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 อยู่ในระดับมาก ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 อยู่ในระดับมาก ทั้งโดยรวมและรายปัจจัยทุกปัจจัย 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำ งานของครูกับความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง 4. สมการพยากรณ์ความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยใช้ปัจจัยความสุขของครูผู้สอนเป็นตัวแปรพยากรณ์ เป็นดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y = .160+.269(X2)+.196(X1)+.146(X3)+.039(X5)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = .455(X2) +.267(X1) +.202 (X3) +.070(X5)
Downloads
Article Details
References
จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับรางวัลสร้างเสริมพลังอำนาจในงานแรงจูงใจใฝ่สำฤทธิ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยรัฐ. วิทยานิพนธ์ พย.ม.การบริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ:บัณพิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุมสุข สุขหิ้น. (2553). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดนครศรีธรรมราช.ปริญญานิพนธ์ กษ.ม. การบริหารหารศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
ธีรศักดิ์ อัครบวร. (2542). ความเป็นครู. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ก. พลพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร. (2556). วิธีง่ายๆ ที่ทำให้พนักงานเกิดความผูกพันกับการทำงานในองค์กร. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2559, จาก: http://www.learners.in.th/blogs/posts/535168.
ประทุมทิพย์ เกตุแก้ว. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณลักษณะความสามรถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคกับความสุขในการทำงานของพยาบาล งานการพยาบาลผ่าตัด: กรณีศึกษาในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. กรุงเทพฯ:คณะศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รวมศิริ เมนะโพธิ. (2550). เครื่องมือวัดการทำงานอย่างมีความสุข กรณีศึกษานักศึกษาภาคพิเศษระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สพลกิตติ์ สังข์ทิพย์. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทางานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้โมเดลสมการโครงสร้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิรินทร แซ่ฉั่ว. (2553). ความสุขในการทํางานของบุคลากรเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาอตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสื่อและกลุ่มงานสร้างสรรค์เพื่อการใช้งาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพัฒนาทรพยากรมมนุษย์และองค์การ, คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.(2550). โครงการวางระบบมาตรฐานดำเนินการพัฒนาข้าราชการก่อนปฏิบัติราชการ: รายงานฉบับสมบูรณ์ เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.(2552). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2559 จาก,http://gotoknow.org/blog/kulkanit2/313729.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. แผนพัฒนาการศึกษาขึ้นพื้นฐาน 2559-2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2559 จาก, http://www2.spm21.com/sec21/
โรจนรินทร์ โกมลหิรัญ. (2551). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทํางานของครูสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Lu, Lo. & Shih, J.K. (1997). Source of happiness: A quallty approach. Retrieved June 17, 2015, http://www.wesrehappy.in.th. of Nursing Administration, 33(12), 652-665.
Warr, P. (1987). Work, unemployment, and mental health. Oxford University. 11-13.