การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3

Main Article Content

ชมภู มุ่งหมาย
มานิตย์ อาษานอก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาตัวชี้วัดตามองค์ประกอบของการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 และ 3) พัฒนาแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครูอนามัย และกรรมการสถานศึกษา สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 จำนวน 210 คน จาก 70 โรงเรียน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และหาค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ 41 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) สภาพปัจจุบันการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 สภาพปัจจุบัน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก 3) แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ 92 แนวทาง สรุปได้ดังนี้ การดำเนินการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพทั้ง 10 องค์ประกอบ ควรมีแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจนทุกระดับ มีการแต่งตั้งคณะทำงานระบุหน้าที่ชัดเจนมีการจัดระบบการนิเทศติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน มีโครงการดำเนินการร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทั้งผู้บริหารครู ครูอนามัย นักเรียน บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา และชุมชน มีการจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบ ด้านโภชนาการเน้นความสะอาดและถูกสุขอนามัย ส่งเสริมให้บุคลากร และนักเรียนรักการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพ 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ร่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

จตุพร ยงศร และคณะ. (2554). องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ โรงเรียนนายเรืออากาศ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(1), 7-17.

ฉัตรฑิวัฒน์ ฝ่ายหมื่นไวย์. (2556). ปัจจัยบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของครูอนามัยโรงเรียนในจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ ส.ม. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ชัญญาภัค เพ็ชรประดับ. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.

ราชกิจจานุเบกษา. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). เล่ม 133 ตอนที่ 115 ก 30 ธันวาคม 2559.

วิลาศลักษณ์ ภิริยะแสง. (2557). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. (19 มิถุนายน 2557). ส่งเสริมสุขภาพเด็กส่งเสริมการลงทุนที่คุ้มค่า. [http://www.obec.go.th/news/50813]. (สืบค้น 14 มีนาคม 2560).

สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2558). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2556). คู่มือการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม.

Mitchell, J. et. al. (2000). A Randomized Trial of an to Develop Health Promoting School in Australia: the South Western Sydney Study. Promotion International Journal, 13(3), 242-246.

World Health Organization (WHO). (1998). Health Promotion Glossy. Geneva: WHO.