การพัฒนาแนวทางการบริหารวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1

Main Article Content

กตัญญุตา เจริญถนอม
สุรชา อมรพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และ 2)พัฒนาแนวทางการบริหารวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 1 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 39 คน ครูผู้สอน จำนวน 259 คน รวม 298 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 แบ่งเป็น 2.1) การศึกษาการบริหารวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูร้อยเอ็ดวิทยาลัยและโรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ด รวม 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ 2.2) การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผู้ประเมิน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


1. สภาพปัจจุบันการบริหารวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการดำเนินการเรียนการสอน ด้านการดำเนินงานธุรการของการจัดการเรียนการสอน ด้านการเตรียมการจัดการสอน ด้านการจัดสื่อการสอนและเทคโนโลยี และด้านการวัดและประเมินผลการสอน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการดำเนินการเรียนการสอนด้านการจัดสื่อการสอนและเทคโนโลยี ด้านการดำเนินงานธุรการของการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผลการสอนและด้านการเตรียมการจัดการสอน


2. แนวทางการบริหารวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านการวัดและประเมินผลการสอน มีแนวทางการพัฒนา ดังนี้ ประชุมวางแผนเพื่อกำหนดระยะเวลาดำเนินงานการวัด และเปิดเวทีเสวนารับฟังความคิดเห็นจากผู้ปกครองและชุมชนจัดทำแผนการวัดผลและประเมินผลการเรียนตามรายวิชาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา 2) ด้านการจัดสื่อการสอนและเทคโนโลยีมีแนวทางการพัฒนาดังนี้ กำหนดแนวทางในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนให้เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาตลอดจนวิทยากรภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) ด้านการเตรียมการจัดการสอนมีแนวทางการพัฒนาดังนี้ จัดให้แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดทำแผนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น เพื่อนำมาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาจัดทำแผนยกระดับคุณภาพผู้เรียน และการดำเนินการจนส่งผลให้คุณภาพผู้เรียนสูงขึ้น 4) ด้านการดำเนินงานธุรการของการจัดการเรียนการสอนมีแนวทางการพัฒนาดังนี้ กำหนดแนวนโยบายและวางแผนการจัดการเรียนการสอน สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครอง ชุมชนและองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาให้ความเห็นชอบในการจัดทำหลักสูตรและเสนอผลงานจัดการเรียนรู้ต่อฝ่ายต่างๆ ของชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกันในทุกภาคเรียน 5) ด้านการดำเนินการเรียนการสอนมีแนวทางการพัฒนาดังนี้ ดำเนินการเรียนการสอนในรูปแบบหลากหลาย สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ให้ปราชญ์ชาวบ้านหรือภูมิปัญญาในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุล ระหว่างสถานศึกษาประชาชนและ ส่วนกลาง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ขุนชัย ทุยเวียง. (2551). การบริหารวิชาการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลกากรทางการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา: กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2 สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง. (2557). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคกลางของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปร.ด.มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

นวพร นุ่นหลักคำ. (2557). การศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์. ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสาคาม.

ประดิษฐ์ โกมุทธิยานนท์. (2551). แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของศูนย์เครือข่ายตำบลบ่อสุพรรณ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พงษ์ศักดิ์ สุขพิทักษ์และคณะ. (2555). กลยุทธ์การบริหารคุณภาพงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พัฒน์นรี ศรีสุข. (2557). บทบาทการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาสำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์. ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสาคาม.

วัชรพล สุดสายเนตร. (2556). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

วัฒนา โรจน์เจริญชัย. (2553). การบริหารงานวิชาการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเบญจมิตร อำเภอแม่แจ่ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

สถาพร ภูทองก้าน. (2557). สภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนวัดพวงแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. การค้นคว้าอิสระ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สมจิต จันทร์ฉาย. (2557). การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.เสน่ห์ ขาวโต. (2550). การกระจายอำนาจและการบริหารและการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2549). รายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรก 2544-2548. ม.ป.ท.,

อุทัย บุญประเสริฐ. (2542). หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพฯ: เอส ดี เพรส.

Krejcie, Robert V. Morgan, Daryle W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. V. 30, 247.

Likert, Rensis. (1970). The Human Resources: Cases and Concept. Hart Cout Brace B. World in cooperated New York.