ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูสอนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาจังหวัดอุดมไซสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

เซียงแพง พรวิไสย
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร

บทคัดย่อ

พฤติกรรมเป็นศักยภาพที่ผู้บริหารแสดงออกในการโน้มน้าวให้ผู้ตามปฏิบัติตามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน แต่สภาพปัจจุบันการบริหารงานของผู้บริหารพบว่าผู้บริหารมักจะแสดง ออกซึ่งพฤติกรรมการบริหารที่ใช้อำนาจหน้าที่มีการใช้ทักษะโน้มน้าวน้อย การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและ กีฬา จังหวัดอุดมไซ จำแนกตามประสบการณ์แลขนาดโรงเรียน 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาจังหวัดอุดมไซ จำแนกตามประสบการณ์และขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูที่มีต่อพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาจังหวัดอุดมไซ จำแนกตามประสบการณ์และขนาดโรงเรียน 4) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูที่มีต่อพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาจังหวัดอุดมไซ จำแนกตามประสบการณ์และขนาดโรงเรียน และ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาจังหวัดอุดมไซ จำแนกตามประสบการณ์ และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาจังหวัดอุดมไซ ปีการศึกษา 2554 ครูสอนจำนวน 322 คน


กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของ (Krejcie and Morgan) วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอนตามสัดส่วนของประชากร (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริหารลักษณะของเครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ลำดับ จำนวน 90 ข้อมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.30 ถึง 0.83 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.79 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้ t – test (Independent Samples) F-test One-way ANOVA) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Simple Correlation Coefficient)


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้จังหวัดอุดมไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือด้านการมุ่งสัมพันธ์และด้านการมุ่งงาน ตามลำดับ ส่วนประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความพึงพอใจ โดยรวมไม่แตกต่างกัน


โดยสรุปพฤติกรรมของผู้บริหารและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาจังหวัดอุดมไซ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผู้เกี่ยวข้องควรพิจารณาพัฒนาพฤติกรรมของผู้บริหารให้สูงขึ้นต่อไป


1. พฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและ กีฬา


2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการ และกีฬาจังหวัดอุดมไซ พบว่า พฤติกรรมของผู้บริหาร จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานและขนาดโรงเรียนต่างกันมีพฤติกรรมของผู้บริหาร โดยรวมไม่แตกต่างกัน


3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาจังหวัดอุดมไซ จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานและขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก


4. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีต่อพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาจังหวัดอุดมไซ โดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า โรงเรียนขนาดกลางมีความพึงพอใจสูงกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


5. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนศึกษาธิการและกีฬาจังหวัดอุดมไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรวมพฤติกรรมของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูไม่มีความสัมพันธ์กัน เมื่อพิจารณาเป็นราด้าน พบว่า ด้านมุ่งการทำงาน ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานและด้านค่าตอบแทน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำ คัญที่ระดับ .05 ส่วนด้านการมุ่งความสัมพันธ์ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู ด้านความรับผิดชอบที่ได้รับและด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Alderfer, C.P. Existence Relatedness and Growth: Human Needs in Organizational Setting. New York: Free Press, 1972.

Briley, Alton Brantlry. “Factors Associated with Students Perception of College Environment at Lenoir Community College Quarter 1994-1995,”

Dissertation Abstracts International. 56 (7): 2524-A ; January, 1996.

Castellon, Marianne. “Relationship between Teachers Perceptions of Principal Leadership Behaviors and Instructional Choices of Reading Interventions for at Risk Students, ” Dissertation Abstracts International. 68 (02): 164-A ; August, 2007.

Herzberg, Frederick. The Motivation to Work. New York: John Wiley, 1959.

Madison, Linda Ann. “The Effect of Supervisor Level of Authority and Leadership Style On Elementary School Climate and Teacher Job Satisfaction, ” Dissertation Abstracts International. 63 (03): 832-A ; September, 2002.

Malcom, Cheryll A. “Principal Leadership Behaviors and Teachers’ Attitudes TowardAssessments and use of Assessment Results in Nebraskas, ” Dissertation Abstracts International. 68 (06): 229-A ; December, 2007.

Martin, Josh. “Building Morale Keeps Employee Spirits High in Tough Times, ” ABI/Inform. 76 (4): 9 – 10 ; April, 1999.MeClelland, C. David. and David C.Winter. Motivation Economic Achievement.New York: The Free Press, 1969.

Miller, Nancy Gardner. “Sense of Place: The Relationship between the Office Environment and Perceived Productivity, ” Dissertation Abstracts International. 58 (12): 4479-A ; June, 1998.

Morris, G.B. School Leadership: A Contemporary Reader. Newbury Park, California: Sage, 1989.

Pollock, Ted. “Twelve Ways to Boost Employee Morale, ” ABI/Inform. 111Z (5): 12 ; May, 1999.

Tunks, Lisa Ulmer. “Comparison of the Outcomes of Leadership Behaviors of Community College Administrators, ” Dissertation Abstracts International. 68 (06): 113-A ; December, 2007

Snow, Joan Donatelli. “The Effect of a Leader’s Psychological Size and Distance through Performance Appraisal on a Follower’s Job Satisfaction,” Dissertation Abstracts International . 63 (02): 1078-A ; August, 2002.