การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

Main Article Content

อรอนงค์ น้อยคำยาง
ประสิทธิ์ ชุติชูเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครู 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครู และ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครู ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครู ระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน ระยะที่ 1 คือ ที่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ระยะที่ 2 คือ ครูผู้สอน จำนวน 150 คน ระยะที่ 3 ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1)แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ 2) แบบสอบถาม สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครู สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 มีองค์ประกอบจำนวน 5 ด้าน และตัวบ่งชี้จำนวน 20 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ 5 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านความรู้ในหลักการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 4 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านการออกแบบและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ 3 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ พบว่าทั้ง องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 ทั้งโดยรวม และรายด้านทุกด้านยู่ในระดับมาก 3. แนวทางการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จากผลการวิเคราะห์ค่า PNI ลำดับแรกคือ ด้านการออกแบบและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้านการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ ด้านความรู้ในหลักการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์และ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ ตามลำดับ


การประเมินแนวทางการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์,

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย,

ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2542). เอกสารประกอบการสอนวิชาการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร,

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์เทียนวัฒนาพริ้นท์ติ้ง,

วัชรี กาญจน์กีรติ. (2559). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ [Online]. เข้าถึงได้จาก: http://www.phichsinee.cmru.ac.th/develop/admin/mydownload/file/2104131 91152.PDF. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม.

มะลิวัน สมศรี. (2558). การพัฒนาคู่มือพัฒนาสมรรถนะทางวิชาการของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

โรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม. (2559). คู่มือการบริหารกลุ่มงานวิชาการ. คำ สั่งโรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม ปีการศึกษา 2559.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยการศึกษาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิศมัย ศรีอำไพ. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องบทประยุกต์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีของอุไรวรรณ ธนยั่งยืน กับกลุ่มที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการค้นพบโดยพลังกลุ่ม. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน ณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

วชรพร ศรีไทย. (2554). สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ที่สอนระดับมัธยมศึกษา ตามทัศนะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2553). “การสอนแนะให้รู้คิด (Cognitively Guided Instruction: CGI): รูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์.” วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 21(1) ตุลาคม 2552- มกราคม 2553): หน้า 1-11.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. (2558). แผนปฏิบัติการประจำปี 2558. สกลนคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). คุรุสภา พัฒนาครู พัฒนาชาติ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลาคม,

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรุณี ศรีวงษ์ชัย. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการให้เหตุผลและเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอน: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

Perrine, Vicki. (2001). Effect of a Problem-Solving-Based Mathematics Course on the Proportional Reasoning of Preservice Teachers. Dissertation Abstracts International. Retireved February 15,2008, from http://wwwlib.uni.com/dissertations/fullcit/3006601.

Swain, Jon and Malcolm Swan. (2009). “Teachers Attempts to Integrate Research-Based Principles Into the Teaching of Numeracy with Post-16 Learner,” Research in Post - Compulsory Education. 14(1): 75-92 ; March,