ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22

Main Article Content

นิพิฐพนธ์ สลางสิงห์
ธัชชัย จิตรนันท์
พัชรกฤษฎิ์ พวงนิล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน การประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์พหุคูณระหว่างปัจจัยกับประสิทธิผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 81 คน ครูผู้รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 81 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 81 คน จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 ที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก สมศ. รอบที่ 2 จำนวน 81 โรง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) และเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 10 ด้าน รวม 50 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ .31-.87 และมีค่าความเชื่อมั่น (a) ทั้งฉบับเท่ากับ .95สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า


1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 โดยรวมอยู่ในระดับมากเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำปัจจัยด้านทัศนคติและทักษะ และปัจจัยด้านเทคโนโลยี


2. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ศึกษาแต่ละด้านกับประสิทธิผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตั้งแต่ .34 ถึง .73 และทุกด้านมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


3. สมการพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน เป็นดังนี้


สมการในรูปคะแนนดิบ
Y/ = .136 + .123 (X9) + .125 (X1) + .107 (X3) + .109 (X7) + .095 (X6) +.112 (X10) + .087 (X8) + .114 (X5) + .100 (X4)


สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน                              Zy/ = .202 (Z9) + .203 (Z1) + .172 (Z3) + .260 (Z7) + .178 (Z6) + .182(Z10) + .145 (Z8) + .180 (Z5) + .138 (Z4)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2544). แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

โดยเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กิตติพงษ์ หาตรงจิตต์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม.,มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.

จำรัส นองมาก. (2546). ปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ภิญญดา เลขวรรณวิเศษ. (2552). ปัจจัยระบบการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน และปัจจัยกำหนดประสิทธิผลขององค์การที่ส่งผลต่อผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.,: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.สถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้. (2546). เรียนรู้สู่คุณภาพสถานศึกษา. ม.ป.ท.

สมพุด เกตขจร. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำ เนินการระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์กศ.ม.,: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. (2554). รายงานสรุปผลการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพรายงานการศึกษา รอบสอง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22, นครพนม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรการมหาชน).(2549). มาตรฐานตัวบ่งชี้และเกณฑ์การพิจารณาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นมาตรฐาน รอบที่ 2 (พ.ศ. 2549-2553). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สุชาย จินะเสนา. (2548). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ ค.ม.,:มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, ภูเก็ต

Levine, D.U. and Lezotte, L.W. (1995). Effective schools research. In J.A. Banks and C.A.Mcgee Banks (Eds.), Handbook of research on multicultural education. New York.

Macmillan. Moorhead, G. and R.W. Griffin. (1998). Organizational Behavior: Managing People and Organizational. 5thed. Boston: Hounghton Miffin.