ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะกับขวัญในการปฏิบัติงานของปลัดอำเภอในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ดุลยาภพ แสงลุน
ิวินัย ผลเจริญ
ประโยชน์ ส่งกลิ่น

บทคัดย่อ

ขวัญของบุคลากรในองค์กรนั้นมีความสำคัญต่อสมรรถนะในการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของปลัดอำเภอโดยรวมและจำแนกตามระดับการศึกษาและอายุราชการ 2) เพื่อศึกษาระดับขวัญในการปฏิบัติงานของปลัดอำเภอโดยรวมและจำแนกตามระดับการศึกษาและอายุราชการ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะกับขวัญในการปฏิบัติงานของปลัดอำเภอ และ 4) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะและขวัญในการปฏิบัติงานของปลัดอำเภอที่มีระดับการศึกษาและอายุราชการแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นปลัดอำเภอที่ปฏิบัติงานในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 178 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามสมรรถนะและขวัญในการปฏิบัติงานของปลัดอำเภอในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 68 ข้อ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ F-test (One-way ANOVA)


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้1. ปลัดอำเภอโดยรวมและจำแนกตามระดับการศึกษา และอายุราชการส่วนใหญ่มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานโดยรวมและเป็นรายด้าน 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ และด้านการทำงานเป็นทีม และีสมรรถนะในการทำงานด้านการบริการที่ดี และด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด


2. ปลัดอำเภอโดยรวมและจำ แนกตามระดับการศึกษาและอายุราชการส่วนใหญ่มีขวัญในการปฏิบัติงานโดยรวมและเป็นรายด้าน 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก คือด้านความสำเร็จในงาน รองลงมาคือด้านลักษณะของงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน และด้านสภาพการทำ งาน และมีขวัญในการปฏิบัติงานอีก 3 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความก้าวหน้า ด้านเงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการ และด้านนโยบายและการบริหารงาน ยกเว้นปลัดอำเภอที่มีอายุราชการ 26-30 ปี และมากกว่า 30 ปี มีขวัญในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีขวัญในการปฏิบัติงานด้านความก้าวหน้า อยู่ในระดับน้อย


3. มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับต่ำ (rxy = .218) ระหว่างสมรรถนะในการปฏิบัติงานกับขวัญในการปฏิบัติงานของปลัดอำเภออย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .01


4. ปลัดอำเภอที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานโดยรวมและเป็นรายด้านไม่แตกต่างกัน และมีขวัญในการปฏิบัติงานโดยรวมและเป็นรายด้านไม่แตกต่างกัน


5. ปลัดอำเภอที่มีอายุราชการแตกต่างกันมีสมรรถนะในการทำงานโดยรวมและเป็นรายด้าน 5 ด้านไม่แตกต่างกัน แต่มีขวัญในการปฏิบัติงานโดยรวมและเป็นรายด้าน 3 ด้านคือ ด้านความก้าวหน้า ด้านนโยบายและการบริหารงาน และด้านสภาพการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


โดยสรุป สมรรถนะมีความสัมพันธ์กับขวัญในการปฏิบัติงานของปลัดอำเภอในจังหวัดขอนแก่นและปลัดอำเภอมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดและมีขวัญในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีบางด้านอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นจึงควรหาแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมขวัญในการปฏิบัติงานเพื่อให้บุคลากรมีสมรรถนะในปฏิบัติงานที่ดียิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กมล ศรีบุญลือ. ขวัญในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ปกครอง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2536.

กองการเจ้าหน้าที่ กรมการปกครอง. “ทำไมต้องสมรรถนะ.” นิตยสารกรมการปกครอง เทศาภิบาล, 104 (4): 52-54, 2552.

จงกล สุทธิอภิรักษ์. ขวัญในการปฏิบัติงานตามระบบปฏิรูปการศึกษาของครูในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ คศ.ม. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2547.

ทวีศักดิ์ ถึกไทย. ความสัมพันธ์ระหว่างขวัญกำ ลังใจกับคุณภาพการปฏิบัติงานของครูใน สถานศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต, 2545.

ธีรพจน์ ภูริโสภณ. สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่ไม่ใช่ ข้าราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. การศึกษาอิสระ ร.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549.

ประยูร รัตนเสนีย์. “ปลัดอำเภอ: ความคาดหวังของกรมการปกครอง, ” นิตยสารกรมการ ปกครองเทศาภิบาล, 103 (5): 8-12, 2551.

ประเสริฐ ชมนาวัง. ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจของข้าราชการในจังหวัดขอนแก่น สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2539.

พณิณญา นาตาแสง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการในสถานศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2550.

พระมหาจักรินทร์ กันวิสา. สมรรถนะของข้าราชการในการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพของที่ทำ การปกครองอำ เภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.

รุจีวรรณ ยมศรีเคน. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินกับคุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ พย.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550.

วุฒิชัย เสาวโกมุท. “ เส้นทางความก้าวหน้าในสายงาน, ” นิตยสารกรมการปกครองเทศาภิบาล,104 (4): 37-40, 2552.

กมล ศรีบุญลือ. ขวัญในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ปกครอง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2536.

กองการเจ้าหน้าที่ กรมการปกครอง. “ทำไมต้องสมรรถนะ.” นิตยสารกรมการปกครองเทศาภิบาล, 104 (4): 52-54, 2552.

จงกล สุทธิอภิรักษ์. ขวัญในการปฏิบัติงานตามระบบปฏิรูปการศึกษาของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ คศ.ม. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี,2547.

ทวีศักดิ์ ถึกไทย. ความสัมพันธ์ระหว่างขวัญกำลังใจกับคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2545.

ธีรพจน์ ภูริโสภณ. สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่ไม่ใช่ข้าราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. การศึกษาอิสระ ร.ม. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549.

ประยูร รัตนเสนีย์. “ปลัดอำเภอ: ความคาดหวังของกรมการปกครอง, ” นิตยสารกรมการปกครองเทศาภิบาล, 103 (5): 8-12, 2551.

ประเสริฐ ชมนาวัง. ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจของข้าราชการในจังหวัดขอนแก่น สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2539.

พณิณญา นาตาแสง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการในสถานศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2550.

พระมหาจักรินทร์ กันวิสา. สมรรถนะของข้าราชการในการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพของที่ทำการปกครองอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.

รุจีวรรณ ยมศรีเคน. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินกับคุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ พย.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550.

วุฒิชัย เสาวโกมุท. “ เส้นทางความก้าวหน้าในสายงาน, ” นิตยสารกรมการปกครองเทศาภิบาล,104 (4): 37-40, 2552.

Herzberg, F. et. al. The Motivation of Work. 2nd New York: John Wiley, 1959.

Jongkol Suthiapiluk. Working morale according to the education reform system of the teachers under Lopburi Province Educational Service Area. Thesis of the Master of Education, Lopburi: Thepsatri Rajaphat University, 2004.

Kamol Sriboonlue. Working morale of the provincial administration officer in Mahasarakam Province. Thesis of the Master of Fine and Applied Arts, Mahasarakham: Mahasarakham University, 1993.

Mayo et al. The Human Problem of Industrial Civilization. New York: Mc Milland, 1927.

Office of the Civil Service Commission. Civil Service Act B.E. 2551. 1st Edition. Bangkok, 2008.

Office of the Public Sector Development Commission. Manual for the change management to strengthen the excellence in practice of the government officers. Bangkok: Office of the Public Sector Development Commission

(OPDC), 2007.

Paninya Natasaeng. Factors influencing working morale of the government officers in schools, Kalasin Province. Thesis of the Master of Education, Mahasarakham: Mahasarakham University, 2007

Personnel Division, Department of Provincial Administration. “Why competency?” The journal of the Provincial Administration, 104 (4): 52-54, 2009.

Phra Maha Chakrin Kunwisa. Performance of the government officers in providing services to public efficiently of the administration office in Chatturat District, Chaiyaphum Province. Independent Study on Public Policy, Mahasarakham: Mahasarakham University, 2004

Prasert Chomnawung. Factors influencing morale of the government officers in Khon Kaen Province under the Department of Provincial Administration, Ministry of Interior. Thesis of the Master of Education, Khon Kaen: Khon

Kaen University, 1996.

Prayoon Ratanasenee. “Assistance District Officer: The expectation of Department of Provincial Administration”, The journal of the Provincial Administration, 103 (5): 8-12, 2008.

Rujiwan Yomsrikane. Relationships between competency of the accident and emergency nurses and quality of service as perceived by nurses in the community hospital in Northeastern. Thesis of the Master of Nursing Science, Khon Kaen: Khon Kaen University, 2007.

Sanor Tiyao. Human Resources Management. Bangkok: Publishing House, Thammasat University, 1992.

Siwan Kwannang. Competency contributing to the success of work of the assistant district officer in Uttaradit Province as perceived by the co-workers. Thesis of the Master of Public Administration in Public Policy, Uttaradit: Uttaradit Rajabhat University, 2007.

Sompong Kasemsin. Administration. Bangkok: Local Publishing House, Department of Provincial Administration, 1973.

Taweesak Thugthai. Relationship between morale and performance of teachers in the schools in Prachinburi Province. Thesis of the Master of Education, Bangkok: Suan Dusit Rajabhat University, 2002 84

Journal of Administration and Development, Mahasarakham University Volume Theerapoj Phurisophon. Work competency of non-academic supporting personnel who is not a government officer in Rajabhat Mahasarakham University. Independent Study on Politics and Governance, Mahasarakham: Mahasarakham University, 2006

Wuttichai Saowakomut. “Career progression path”, The journal of the Provincial Administration, 104 (4): 37-40, 2009.