การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

Main Article Content

ยิ่งยง ประดับกรณ์
สุรชา อมรพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัดการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 3) เพื่อศึกษาวิธีพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 4) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ และตัวชี้วัดการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นครู จำนวน 338 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 3 การศึกษาวิธีการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 27 จากแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิธีการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ แล้วสังเคราะห์และสรุปเป็นวิธีพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ระยะที่ 4 การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 และประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ของโปรแกรมพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยใช้แบบประเมิน แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 22 ตัวชี้วัดดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการพัฒนาการเรียนรู้ มี 2 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 ด้านการวางแผนแก้ปัญหาหรือการเขียนโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มี 8 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 ด้านการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ มี 4 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 4 ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล มี 4 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 5 ด้านการสรุปผลการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ มี 3 ตัวชี้วัด 2. สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนแก้ปัญหาหรือการเขียนเค้าโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การสรุปผลการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการพัฒนาการเรียนรู้ ตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ การสรุปผลการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการพัฒนาการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ การวางแผนแก้ปัญหาหรือการเขียนเค้าโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับ 3. วิธีการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 วิธีการ ได้แก่ 1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) การฝึกอบรม 3) การสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยง 4) การเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4. การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 4.1 โปรแกรมพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ประกอบด้วย 1) บทนำ 2) หลักการและเหตุผล 3) ความมุ่งหมาย 4) ผู้เข้ารับการพัฒนา 5) ระยะเวลา 6) โครงสร้าง ขอบข่ายเนื้อหา 7) วิธีการพัฒนา 8) สื่อ และ 9) การวัดและการประเมินผล ขอบข่ายเนื้อหาประกอบด้วย 5 โมดูล ได้แก่ โมดูล 1 ด้านการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการพัฒนาการเรียนรู้ โมดูล 2 ด้านการวางแผนแก้ปัญหาหรือการเขียนเค้าโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โมดูล 3 ด้านการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้โมดูล 4 ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โมดูล 5 ด้านการสรุปผลการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ 4.2 การประเมินโปรแกรมพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมวิชาการ. (2544). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กรมวิชาการ. (2543). แนวทางการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ชาตรี เกิดธรรม. (2545). อยากทำวิจัยในชั้นเรียนแต่เขียนไม่เป็น. กรุงเทพฯ: ดิจิตอล เลิร์นนิ่ง.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ไพศาล วรคำ. (2554). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

มนพ สกลศิลป์ศิริ. (2553). การพัฒนาคุณภาพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ ค.ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิราพร พงศ์อาจารย์. (2547). การวิจัยและพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาและฝึกอบรมครู เรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). กรุงเทพ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.

สนิท สัตโยภาส. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สู่การพัฒนาผลงานทางวิชาการของครูมืออาชีพ. กรุงเทพ: สถาบันส่งเสริมและพัฒนาการอ่านการเขียนแห่งประเทศไทย.

สุทิน วงศ์ประพันธ์. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

เสาวภาคย์ รศพล. (2552). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของครู ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ ค.ม.พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

Barr, MJ. and Keating, L.A. (1990). “Introduction: Element of program development,” in M.J. and Keating and Associates. Developing effective student services program. San Francisco: Jossey-Bass.

Niedermeyer, L.C. (1992). A Checklist for reviewing environmental education programs. The Journal of environmental education.

Rothwell, W.J. & Cookson, P.S. (1997). Beyond instruction: Comprehensive program planning for business and education. San Francisco, CA: Jossey-Bass Publishers.