รูปแบบแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 10

Main Article Content

ชูชาติ สิทธิสาร
สมชาย วงศ์เกษม
วงศ์พัฒนา ศรีประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อยืนยันองค์ประกอบที่ได้จากศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ลักษณะที่เอื้อต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานและความสามารถในการปฏิบัติงานของพนักงานครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 10 กับข้อมูลเชิงประจักษ์พร้อมทั้งเพื่อศึกษาองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานครูสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่10 และ.เพื่อให้ได้รูปแบบแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 10 โดยใช้ระเบียบวิธีการการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ (Descriptive and Quantitative Research) จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ปฏิบัติงาน โดยวิธีจับสลากเลือกตัวแทนกลุ่มละ 1 จังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 21 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่พนักงานครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 10 จำนวน 379 คนตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยตัวแปรแฝงและตัวแปรสังเกตได้ การเก็บรวบรวมข้อมูลตามแบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูล และการใช้สถิติคำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป


ผลวิจัย พบว่าตัวแปรแฝงด้านแรงจูงใจ ประกอบด้วยองค์ประกอบ และความสามารถในการปฏิบัติงาน, แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานและลักษณะที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานตามลำดับ ส่วนตัวแฝงอิทธิพลทางอ้อมสูงสุด คือ ตัวแปรแฝงแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ตัวแปรทุกตัวในโมเดลร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของของตัวแปรแฝงแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 81.8 ผลการวิเคราะห์ได้โมเดลโครงสร้างแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานครู แสดงให้เห็นว่า แรงจูงในที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานครูนั้นมีอิทธิพลต่อกันทุกด้าน


รูปแบบแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 10 ประกอบด้วยองค์ประกอบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 4 ด้าน ได้แก่ 1) การยกย่องชมเชย 2) มิตรภาพและความสัมพันธ์ 3) ค่าจ้าง4)ความรักและศรัทราในวิชาชีพครู องค์ประกอบลักษณะที่เอื้อต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน 5 ด้าน คือ 1.ลักษณะส่วนบุคคล 2. ลักษณะของงาน 3.ลักษณะขององค์กร 4.นโยบายการบริหารและการปฏิบัติงาน 5.สิ่งแวดล้อมของงาน และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องการปฏิบัติงานของพนักงานครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 ด้าน คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านคุณภาพการปฏิบัติงานและด้านที่เกิดจากการปฏิบัติงาน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Frederick w. Taylor. The principles of scientific Management. (New Youk: Harper, 1911), n.pag.

Herzberg, Frederick. Work and the Nature of Man, New York: The world Publishing Company, 1967.

Jaroensook, Suto. Psychology for Intellectual Person in Higher Education. Bangkok: Sunee Printing, n.d.

Kasemsanoa, Parichat. “Practice Guidelines for Maintaining Discipline of Executive Staffs in Ramkamhang University.” Master of Education Thesis, Graduate School, Chulalongkorn University.

Mc Cleland, David C. “Business Drive and National Achievement” Harvard Business Review, (1962): 99-122.

Murray, Henry A. Explorations in Personally: a Clinical and Experimental Study of FiftyMen of College Age. 4th ed., New York: John Wiley & Sons Inc., 1938.

McGregor, Douglas. The Human Side of Enterprise. Faridabad, Haryana, India: TATAMcGraw-Hill Publishing Co, 1960.

Maki, Diane Mae. Work Motivators for Software Engineers: A case Study [Online]. Accessed 17 July 2011. Available from: http://wwwlib.umi.com/ dissertations/

Ozcan, Mustafa. Improving Teacher Performance: Toward a Sociological Theory of Teacher Motivation [Online] . Accessed 17 July 2011. Available from: http: //wwwlib.umi.com/dissertations/

Sripadta, Suwakij ; Pawanja, Suwan & Ponsripim, Prasit.“Appropriate Factors in Evaluation of Teacher Officials in Student Inspectors and Students, and Supervision Work Line.” A Research Report of the Office of TO.n. d.

Wirachchai, Nonglak. LISREL Model: Analytic Statistic for Research. Bangkok: Chulalongkorn Universiity, 1999.