การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา

Main Article Content

รัตน์ดาวัล วรรณปะเถาว์
ประสาท เนืองเฉลิม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2/1 โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และแบบสัมภาษณ์การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เมื่อสิ้นสุดวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 69.38 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ คิดเป็นร้อยละ 69.58 เมื่อสิ้นสุดวงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 80.00 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ คิดเป็นร้อยละ 79.17

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2551). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป 2552.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558ก). จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9(4): 7-14.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558ข). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. นักบริหาร. 33(2): 49-56.

พลศักดิ์ แสงพรมศรี ประสาท เนืองเฉลิม ปิยะเนตร จันทร์ถิระติกุล (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และเจตคติต่อการเรียนเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9: 401-418.

โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก. รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคมรัชมังคลาภิเษก, 1/2558

รักษพล ธนานุวงศ์. (2556ก). รายงานสุปการประชุมเชิงปฏิบัติการ STEM Education.สืบค้นวันที่ 15 มีนาาคม 2559 จาก http//www.Slideshare.net/focusphysics/stemworkshopsummary.

รักษพล ธนานุวงศ์. (2556ข). เรียนรู้สภาวะโลกร้อนด้วย STEM Education แบบบูรณาการ. นิตยสาร สสวท. 41(182), 15-20.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2556). หลักสูตรกับการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี. นิตยสาร สสวท. 41(180): 34-37.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท. 42(186), 3-5.

อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2556). สะเต็มศึกษากับการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา. สมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 19 (มกราคม – ธันวาคม 2556), 15-18

Breiner, J.M., Caela, C.J., Harkness, S.S. and Koehler, C.M. (2012). What is STEM? A discussion about conceptions of STEM in education and partnerships. School Science and Mathematics. 112(1): 3-11.

Han, S., Capraro, R., & Capraro, M. M. (2015). How science, technology, engineering, and mathematics (STEM) project-based learning (PBL) affects high, middle, and low achievers differently: The impact of student factors on achievement. International Journal of Science and Mathematics Education. 13(5): 1089-1113.

Laboy-Rush, D. (2011). Integrated STEM education through project-based learning. http://www. rondout. k12. ny. us/common/pages/DisplayFile.aspx.

O’Neil, T.L., Yamagata, J.Y. and Togioka, S. (2012). Teaching STEM means teacher learning. Phi Delta Kappan. 94(1): 36–40.

Scott, C. (2012). An investigation of Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) focused high school in the U.S. Journal of STEM Education. 13(5): 30–39.

Tseng, K. H., Chang, C. C., Lou, S. J., & Chen, W. P. (2013). Attitudes towards science, technology, engineering and mathematics (STEM) in a project-based learning (PjBL)environment. International Journal of Technology and Design Education. 23(1): 87-102.