การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่5 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์

Main Article Content

บดินทร์ ปัดถาวโร
ประสาท เนืองเฉลิม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายคือ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ร้อยละ 75/75 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อพัฒนาการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 75 4) เพื่อศึกษาเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 7 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 14 ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน ประเมินได้ค่าเฉลี่ยรายแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตั้งแต่ 4.62 ถึง 4.68 และมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.65 มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.76 มีค่าความเชื่อมั่น (rcc) เท่ากับ 0.82 3) แบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ จำนวน 35 ข้อ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าความยากง่าย(P) ระหว่าง 0.25 ถึง 0.80 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.46 ถึง 0.74 มีค่าความเชื่อมั่น (rtt) เท่ากับ 0.72 4) แบบวัดเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบวัดมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับของลิเคอร์ท จำนวน 20 ข้อมีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.41 ถึง 0.84 โดยได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเจตคติทั้งฉบับตามวิธีของครอนบาค เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.44/83.92 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 83.92 3) การคิดเชิงวิทยาศาสตร์ได้คะแนนเฉลี่ย 80.84 4) นักเรียนมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2542). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยด้านทักษะการคิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมวิชาการ. (2552). กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชนิสา เลิศสกุล. (2549). ผลการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร โดยใช้วัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 80.

ณัฐพล แนวจำปา. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(3), 56.

ทิฆัมพร ยุทธเสรี. (2550). ผลการเรียนโดยใช้รูปแบบวัฎจักร 5 ขั้น เรื่อง วัสดุและสมบัติของวัสดุ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้า อิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,65.

ธิดารัตน์ อินปาต๊ะ. (2554). ความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยเสริมกิจกรรมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา): มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 76.

นิตยา ตนยวด. (2549). ผลการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ที่มีตอผลสัมฤทธิ์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 . การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,52-53.

ประภัสสร โพธิโน. (2549). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสารในชีวตประจำวัน สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E). การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวทยาลยมหาสารคาม,85.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาสารคาม. พันธ์ ทองชุมนุม. (2544). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. ปัตตานี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พันธ์ ทองชุมนุม. (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2545). สัมมนาหลักสูตรและการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เอกสารประกอบ การเรียนวิชา 506713. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มกราพันธ์ จูฑะรสก. (2551). การคิดอย่างเป็นระบบ: การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชนก: นนทบุรี.

มานิต กีรตินิตยา. (2552). การพัฒนาทักษะกระบวนการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน . การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 56.

ยุทธนา สมิตะสิริ. (2539). เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาครูที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษา นครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. อัดสำเนา.

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร. (2558). หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. อุดรธานี, อัดสำเนา.

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร. (2558). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร. อุดรธานี: อัดสำเนา.

วีรสิทธิ์ ตุงชีพ. (2556). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,58.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2552). การจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี.

สมใจ แสนนาม. (2554). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาการศึกษามหาบณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,67.

สมบัติ ท้ายเรือคำ . (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: ประสานการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. (2558). รายงานการนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2558. สำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 2.

Zimmerman, C. (2007). The development of scientific reasoning skill. Development Review, 20, 99–149.