รูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

กิตติภัทท์ ไกรเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) การสร้างรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและ4)การประเมินรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและคู่มือการดำเนินการตามรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า1. สภาพปัญหาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการจัดองค์การ รองลงมา คือ ด้านการวางแผนด้านการนำส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การควบคุมและความต้องการในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการจัดองค์การ รองลงมา คือ ด้านการวางแผน ด้านการนำส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
คือ ด้านการควบคุม


2. รูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การวางแผน องค์ประกอบที่ 2 การจัดองค์การ องค์ประกอบที่ 3 การนำและองค์ประกอบที่ 4 การควบคุม ซึ่งครอบคลุมภารกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร งานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและงานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ สามารถนำมาบูรณาการเป็นองค์ประกอบย่อยได้ 22 องค์ประกอบและคู่มือการดำเนินการตามรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) ข้อจำกัดในการนำคู่มือไปใช้ 4) วิธีการนำคู่มือไปใช้ 5) เกณฑ์การประเมินการใช้รูปแบบ 6) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบ 7) เงื่อนไขความสำ เร็จของรูปแบบ 8) บรรณานุกรม 9)ภาคผนวก และผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการดำเนินการตามรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด


3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในสภาพจริง ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพบว่า ก่อนการทดลองใช้รูปแบบ โดยรวมผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพพอใช้ ส่วนผลการประเมินหลังการทดลองใช้รูปแบบ โดยรวมผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก



4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่าผลการประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยผู้ประเมินเห็นว่ารูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นประโยชน์ต่อสำนักงานเขตพื้นที่กาศึกษา ควรนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรจัดทำแผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควรมีโครงสร้างการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ควรกำหนดขอบข่ายงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้ชัดเจน ควรมีบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควรมี Hardware, Software ที่ทันสมัยและเพียงพอและผู้บริหารการศึกษาควรให้ความสำคัญ เห็นประโยชน์ในการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารการศึกษา การจัดการเรียนรู้และการให้บริการทางการศึกษาอย่างจริงจัง 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Ministry of Education. (2011). Information and Communication Technology Master Plan for Education No. 2. (AD.2011-2013). Bangkok: Ministry of Education.

Ministry of Information and Communication. (2009). Information and Communication Technology Master Plan for Education No. 2. Of Thailand (AD.2009-2013). Bangkok: Ministry of Information and Communication .

. (2011). Information and Communication Technology Policy Framework Act 2012-3106 term of Thailand. 1st., Bangkok: Ministry of Information and Communication Technology.

Chaiphak Nindee (2011). A Study of the Problems and Solutions for Managing Information Technology and Communication Lab schools under Ayutthaya Educational Service Area Office 1 and Area 2. Thesis of Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University.

Tinagorn Poolput. (2009). A Proposed of ICT Management of Education Service Areas for Education Development of small- Sized Schools. Thesis Ph.D.in Educational Administation, Naresuan University.

Titaree Wilailert. (2011). A Management model for the information communication technology in the Lab School Kalasin Province. Ed.D thesis Rajabhat Mahasarakham University.

Naphaphon Khanthanapha and Kannika Niyomsin. (2002). Management and organizational behavior. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Netphanna Yawirat. (2003). Modern management. Bangkok: Central Express.

Wichai Sukpan. (2008). Administration Trend Manages the information technology for the Development learns in Small-Sized schools in Nakhon Si Thammarat Educational Service Area Office 2. Bachelor of Education’s Thesis Department of Educational Administration Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.

Wasana Tochat. (2012). The Development of the Internal Supervision Model on the Effective Classroom Management in Middle-Sized Basic Education Schools. Ed.D thesis Ubon Ratchathani Rajabhat University.

Siriwan Serirat .(2002). Organization and management. Bangkok Brightest Diamond in the business world.

Sakda Panpeng (2011). The Model of School Administration through Information Technology and Communication for Developing Educational Quality in Basic School . Ed.D thesis Ubon Ratchathani Rajabhat University.

Office of the National Economic and Social Development. (2012). National Economic and Social Development Plan No. 11 (AD 2012-2016). Bangkok.

Office of the National Education Commission (2011). Education Act of 1999, as amended (No. 3) Act 2011. Bangkok: Office of the Prime Minister.

Sureerat Nontula (2012). The Development Model of the Basic Educational Committees’ Participation in Developing School Curriculum . Ed.D thesis Ubon Ratchathani Rajabhat University.