การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดแนวทางเสริมสร้าง สมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา หนองคาย เขต 1 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองคาย เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและจัดการเรียนรู้สำ หรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองคาย เขต 1 โดยการดำเนินงานมี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา โดยยึดองค์ประกอบหลักจากสมรรถนะประจำ สายงานครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553 และได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองคาย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 จำนวน 320 คน โดยใช้วิธีการสุ่มระดับชั้น (Stratified Random Sampling) และโดยการสุ่มเชิงช่วงชั้นอย่างมีสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) ตามขนาดของสถานศึกษาจากสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความมีประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 3 แนวทางการพัฒนาเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองคาย เขต 1 โดยการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาแนวทาง ศึกษาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา และครูที่เกี่ยวข้องด้านแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาโรงเรียนที่เป็นต้นแบบด้านสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (Best Practice) จำนวน 3 โรงเรียนๆ ละ 3 คนรวมจำนวน 9 คน ได้แนวทางพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา และสร้างคู่มือการพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา โดยการตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของแนวทางจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้
1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองคายเขต 1 มีองค์ประกอบ 5 ด้าน และตัวชี้วัด 44 ตัวชี้วัด 2. สภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร ด้านความรู้ ความสามารถ ในการออกแบบการเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การใช้และพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองคาย เขต 1 พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ ความสามารถ ในการออกแบบการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การใช้และพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ 3. ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองคาย เขต 1 พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด มาก และมากที่สุดตามลำดับ
Downloads
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คณาจารย์กลุ่มหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, (2553).
จิตติกา ชัยภักดี. (2559). แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ กศม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2552). การสรรหาคัดเลือกและการประเมินผลการปฏิบัติงานชองบุคลากร. กรุงเทพฯ: วี.พรินท์.
ธีรพจน์ ภูริโสภณ. (2549). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่ไม่ใช่ข้าราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. การค้นคว้าแบบอิสระ รป.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). มารู้จัก Competency กันเถอะ. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
ทัศณรงค์ จารุเมธีชน. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิคม ชมพูหลวง. (2545). วิธีการและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2553). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
มะห์ดี มะดือราแว. (2551). สมรรถนะครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
มะลิวัน สมศรี. (2558). การพัฒนาคู่มือสมรรถนะทางวิชาการของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิทยา จันทร์ศิริ. (2551). การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ.วิทยานิพนธ์ กศ.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีระชัย ศรีวงษ์รัตน์. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2557). แผนปฏิบัติการประจำ ปี 2557.หนองคาย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). ตัวบ่งชี้การเรียนการสอนที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรังปรุง). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ..
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). คู่มือสมรรถนะข้าราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีพิวิ่ง.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Benitez, Debra T. (2006). “Transition Service and Delivery: A Multi-stage Study of Special Education Teacher’s Perceptions of their Transition Competencies,” Dissertation Abstracts International. 66(08): 2889-A ; February.
Boyatzis, R.E. (1982). The Competent Manager: A Model for Effective Performance. New York: Wiley.
Coley, Richard J. and others. (1996). Computers and Classroom: The Status of Technology in U.S. Schools. New Jersey: Policy Information Center.
McClelland, David C. (1973). “Testing for Competence Rather Than for Intelligence,” The American Psychologist. 28(1): 251-255 ; January.
Sorensen, Tyson J. (2005). “In-service Need and P erceived Competencies of Utah Secondary Agricultural Education Instructors,” Masters Abstracts International. 43(06) ; 1894 ; December.
Spencer, L.M. and S.M. Spencer. (1993). Competence at Work: Models for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons.