การวิเคราะห์องค์ประกอบที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พิมพ์ โหล่คำ
อัศวฤทธิ์ อุทัยรัตน์
ชวนชัย เชื้อสาธุชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 440 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ตอนดังนี้ ตอนที่ 1เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามได้แก่ เพศ อายุ ตอนที่ 2 เป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวแปรกลุ่มปัจจัยกระตุ้นตอนที่ 3 เป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวแปรกลุ่มปัจจัยค้ำจุน ตอนที่ 4 เป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวแปรกลุ่มคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา และตอนที่ 5 เป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษา มีจำนวน 176 ข้อ มีความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.86 ถึง 0.96 และมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารสถานศึกษามีคุณภาพชีวิตโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี โดยที่ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถมีความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน บูรณาการทางสังคม ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ลักษณะการบริหารงาน ความเกี่ยวข้องของสังคมสัมพันธ์ อยู่ในระดับมาก 2. ตัวแปรทำนายที่ดีของคุณภาพชีวิตการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษา มี 6 ตัวแปรประกอบด้วย ตัวแปรในกลุ่มปัจจัยกระตุ้น 2 ตัวแปร ได้แก่ ลักษณะงาน และความรับผิดชอบ กลุ่มปัจจัยค้ำจุน 1 ตัวแปร ได้แก่ ความเหมาะสมของรายได้ และตัวแปรในกลุ่มคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา 3 ตัวแปร ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมความเพียงพอในชีวิต และความสามารถในการสื่อสาร และตัวแปรทำนายที่ดีทั้ง 6 ตัวแปรนี้ร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษาได้ร้อยละ 73.8 ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการทำนายในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ สมการทำ นายในรูปคะแนนดิบ คือ Y/ = 44.762 + .768X12 + .429X5 + 1.602X14 +1.540X10 + .858 X13 + .597X3 สมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z’Y = .176ZX12 + .101ZX5 + .280ZX14 + .257ZX10 + .148ZX13 + .147ZX3 3. ตัวแปรกลุ่มปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ ความสำเร็จของงาน การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะงาน โอกาสที่จะก้าวหน้าในอนาคต และความรับผิดชอบ ตัวแปรกลุ่มปัจจัยค้ำจุนได้แก่ การบังคับบัญชา นโยบายบริหาร สภาพการทำงานความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน และความเหมาะสมของรายได้ ตัวแปรกลุ่มคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ความรู้ความสามารถสำหรับการทำงาน การให้มีส่วนร่วมความเพียงพอในชีวิต และความสามารถในการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษาในระดับมาก (R = .867) และร่วมกันสามารถทำนายคุณภาพชีวิต การทำงานของผู้บริหารสถานศึกษาได้ร้อยละ 75.1 4. ตัวแปรทำนายในกลุ่มปัจจัยกระตุ้น 5 ตัวแปร กลุ่มปัจจัยค้ำจุน 5 ตัวแปร และตัวแปรในกลุ่มคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา 4 ตัวแปร รวม 14 ตัวแปร สามารถทำนายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษา ได้มากกว่าตัวทำนายในกลุ่มปัจจัยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียวทั้งในกลุ่มรวม และกลุ่มย่อยที่แบ่งตาม เพศ และอายุ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Chaidej Pornchaiya. Principle of Management and Process of Life. Public Official Journal. 38(4): 57-63. (1993, July-August).

Tadsana Sawangsak. Features affecting the quality of work life of school administrators under Pathum Thani Educational Service Area Office. Educational Administration, Faculty of Education, Srinakharinwirot University. Xerox. 2006.

Thanin Silpacharu. Research and statistical analysis with SPSS and AMOS. Bangkok: SP Printing Massproducts Co., Ltd. 2012.

Theera Runcharoen. Professional School Administrators: Administration for learning reform. (2nd Edition, Page 11-47). Bangkok: LT. Place. 2007.

Boonsaeng Cheerapakorn. Improving the Quality of Work Life. Public Official Journal. 1(1): 5-12. (2000, January-March).

Jaided Pronchaya. Primary management processes of life. Official Journal. 38 (4): 57-63. (2536,. July-August). Tassana Svangsuk. Features that affect the quality of working life, school administrators under. Pathum Thani Educational Service Area Office. Department of Educational Administration. Faculty of Education University. Copier. 2549.

Tanin Sinrapacharu. Research and statistical analysis with SPSS and AMOS. Bangkok. SR Massachusetts Printing Products Co., Ltd. in 2555.

Thira Runjarean. Prosperous professional management education: learning management reform. (2nd edition), page 11-47). Bangkok: Alt. Place. 2550.

Boonsaeng Chirapagron. to improve the quality of working life. Journal of the civil service. 1 (1): 5-12. (2533, January - March)

Herzberg, Frederick. (1959). Increasing job Satisfaction and Quality of Working Life.RetrievedNovember18,2005,fromhttp://trochim.human.cornell.edu/ research/epp1/epp1.html. 2005.

Walton, R.E. QWL indicators-Prospects and problems. Measuring the quality of working life. 2 (15): 57-70. 1974.