การพัฒนาวิธีสอนอ่านจับใจความโดยใช้แผนภาพโครงเรื่องประกอบการจัดการเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (RBL)

Main Article Content

วันวิสา ประมวล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาวิธีการสอนอ่านจับใจความโดยใช้แผนภาพโครงเรื่องประกอบการจัดการเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน(RBL)ที่เสริมสร้างความสามารถการอ่าน จับใจความของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่1ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ก่อนและหลังเรียนโดยแผนภาพโครงเรื่องประกอบการจัดการเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (RBL) ประกอบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านจับใจความ โดยใช้แผนภาพโครงเรื่องประกอบ การจัดการเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (RBL) จำนวน 3 แผน ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความ โดยใช้แผนภาพโครงเรื่องประกอบการจัดการเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (RBL) ซึ่งมีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20–0.68 ค่าดัชนีการจำแนกระหว่าง 0.50 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลทดสอบก่อนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบทีผลการวิจัยพบว่าวิธีการสอนอ่านจับใจความโดยใช้แผนภาพโครงเรื่องประกอบการจัดการเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน(RBL) มีประสิทธิภาพ 89.77 /85.19 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ นักเรียนที่สอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ มีความสามารถด้านการอ่านจับใจความในระดับดีมาก มีคะแนนความสามารถด้านการอ่านจับใจความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(t =18.885, P < 0.001) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าวิธีการสอนอ่านจับใจความโดยใช้แผนภาพโครงเรื่องประกอบการจัดการเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐานมีประสิทธิภาพในการพัฒนาการความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียน ดังนั้นจึงควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ครูนำรูปแบบการสอนนี้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์ของรายวิชาต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกสรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จุฑา ธรรมชาติ. (2552). การวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชา การวิจัยทางการศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักวิจัยและพัฒนา.

ฉัตรแก้ว เภาวิเศษ. (2558). การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ณ ห้องประชุมอัญชัน โรงเรียนเชียงม่วนวิทยาคม ศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยีจังหวัดพะเยา.

นิภาพร คล้ายยวงทอง. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านโดยใช้แผนภาพโครงเรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจสำ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนปทุมคงคา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. สุวิริยาสาส์น.

ปริยานันท์ ไวยเวช. (2548). การพัฒนาความสามารถในการจำ การวิเคราะห์และการสังเคราห์จากเรื่องที่อ่าน โดยใช้เทคนิคแบบแผนผังความคิดกับเทคนิคแบบโครงเรื่อง. วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.จิตวิทยาการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิชญ์สินี ชมภูคำ. (2544). การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องวิจัยในชั้นเรียน.หน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 8. เชียงใหม่.

พิชญ์สินี ชมภูคำ. (2545). วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 8. เชียงใหม่.

มนัส บุญประกอบ. (2545). ยุทธศาสตร์ใหม่ของการศึกษา: แผนภูมิมโนทัศน์. สสวท. มกราคม – มีนาคม 18(68), 26 – 29.

แม้นมาส ชวลิต. (2544). แนวทางส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

ศศิธร สุริยวงศ์ และวิชิต สุรัตน์เรืองชัย. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 8 (1): 103-114.

สมพร แพ่งพิพัฒน์. (2547). รู้เรื่องการอ่าน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.