รูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชนและวัดในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

สุทธิธรรมพิทักษ์ ไกรษี
วิเชียร ชิวพิมาย
สุภัทรา เอื้อวงศ์
ประพัฒน์พงษ์ อุปลา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชนและวัด ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชนและวัด ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน จังหวัดศรีสะเกษ 3 ) เพื่อสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชนและวัดในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดศรีสะเกษ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนชุมชนและวัดในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดศรีสะเกษ 5) เพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชนและวัดในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดศรีสะเกษการศึกษาวิจัย ใช้รูปแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ (Mixed Research Method) ประชากรเป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 จำนวน 305 แห่ง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นสถานศึกษา จำนวน 174 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้แทนโรงเรียน ผู้แทนชุมชน และผู้แทนวัด เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินคุณภาพรูปแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย x̅, S.D, IOC, Reliability และการตรวจสอบความถูกต้องในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพแบบสามเส้า (Triangulation)


ผลการวิจัย พบว่า1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชน วัดในการ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า สภาพการมีส่วนร่วมโดย ภาพรวมอยู่ในระดับมากถึงปานกลาง (x̅ = 3.89-3.81) สภาพปัญหาการมีส่วนร่วมโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงน้อย (x̅ = 3.40-2.22)


2. การศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชน วัด ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดศรีสะเกษ ในสถานศึกษาต้นแบบขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ พบว่า โรงเรียน ชุมชน และวัดมีส่วนร่วมใน 4 ขั้นตอนได้แก่ การเตรียมการ (Pre-Pare) การวางแผนงาน(Plan) การดำเนินการ (Process) และการประเมินผล (Performance) มีคุณภาพอยู่ใน ระดับดีมาก


3. การสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชน วัดในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดศรีสะเกษ ผู้วิจัยสร้างรูปแบบลักษณะแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ประกอบการอธิบาย มี 9 องค์ประกอบ ได้แก่ การกำหนดนโยบายและเป้าหมาย กระบวนการมีส่วนร่วม การกำหนดแนวปฏิบัติ กำหนดโครงสร้างและผู้รับผิดชอบ การจัดทำแผนกลยุทธ์ การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี การกำหนดรายละเอียดโครงการตามกลยุทธ์ การดำเนินการ ผลผลิต


4. การประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชน วัดในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดศรีสะเกษ ผู้วิจัยสร้างเครื่องมือประกอบการประเมินใน 4 ด้าน ได้แก่ ความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า รูปแบบที่สร้างขึ้นมีคุณภาพในระดับมากที่สุดถึงมาก เรียงตามลำดับจากค่าเฉลี่ย (x̅ =4.57) มากที่สุดไปหาน้อย ได้แก่ 4.6,4.6,4.6 และ 4.5 ตามลำดับ


5. การนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชน วัดในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจต่อรูปแบบที่สร้างขึ้นโดยภาพรวมในระดับมากที่สุด (x̅ =4.68) 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participation’s Place in Rural Development Seeking Calrity Through Specificity. World Development. Vol. 8.

Daungpreuksa Montr. (1997). The Opinion of the Members of the Tambol Administrative Organizations Toward the Participation in Managing Forest and Natural Resources, A Case study: Suan Phung District. Ratchaburi Province. Master of Arts (M.A). NakornPrathom, Mahidol University.

Department of Education. (2001). Community Participation in the basic Education at Secondary Level. Bangkok: Religion.

Soobkapung Pattama. (2009). “Thai People’s Participation During the last Decaded: Current Problems and Future Challenges. The Journals of King Prajadhipok’s Institution. 7(2), May-August 2009. Page 42-59.

Kaewsomboon Dusida. (2002). People’s Participation in Tambon Development Projects of Tambon administrative organizations (TAO) in Songkla Province. M.Ed. Songkla: Prince of Songkla University.

Kraivichian Thanin. (2007). The Morals and the Ethics of Managers. Bangkok: Office of the Civil Service Commission.

Mettkaroonjit Mett. (1998). The Participation of Education Committee in Municipal School Administration, Nakhon Ratchasima Province. Educational Administration (M.Ed.). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Natthapnong Kaeotapi. (2000). Problems, Causes and Guidelines for Solving Performanoe Problems of Relations with the Community of Secondary Schools Situated in the Ethnic Groups of Thai Lao, Thai Lao – Thai Khmer,

Thai Lao – Thai Kui, and Thai Lao – Thai Nyoe under the General Education Department in Si Sa Ket Provinoe Natthapnong Kaeotapi. M.Ed. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Office of Permanent Secretary for Education. (2012). Action Plan 2555-2558. Bangkok: Strategy and Plans Division of the Office of Policy and Strategic of the Office of Permanent Secretary for Education.

Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). (2012). Annual Report 2554 of the Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). Bangkok: Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization)

Phaungsomjit Choochart. (1997). An Analysis of Facilitating Factors and Restraining Factors Towards Community-Elementary School Participation in the Vicinity of Bangkok Metropolis. Doctor of Philosophy (Educational Administration). Bangkok: Chulalongkorn University.

Sarattana Viroj. (2003). Educational Administration: Policy and Strategy to Achieve Results. Bangkok. Tipwisut Printing.

Sootarak Owat. (1997). People’s participation under Educational Management structure and Decentralized educational Management in Central Region. Bangkok: Office of the National Education Committee.

Sukapirom Booncherd. (1998). The Role of School Committee Towards the Participation in Solving the Administrative Problems of the Small Schools under the office of the Provincial Primary Education of Ratchaburi. Educational Administration (M.Ed.). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

The Ministry of Education. (1999). National Education Act BE 2542(1999). Bangkok: Teachers council publisher Lat Phrao.

United Nations. (1981). Popular Participation as a Strategy for Promoting Community Level Action and National Development Report of the Meeting or the Adhoc Group of Experts. New York: United Nations.

Voravikosit Wanvilai. (1997). The study of the Participation of Tambon Administrative Committee in Organizing Educational activities in Provincial Office of the Non-Formal Education in Central Region. M.Ed. (Non-Formal Education), Bangkok: Chulalongkorn University.

Yosboonrueng Sawas. (1998). The Promotion of Community Participation in Educational Management: A case study: The Role and function of Educational Personnel under the Office of Lampang Provincial Primary Education. M.Ed. (Educational Administration). Chiang mai: Chiang Mai University.